Page 117 - kpi13391
P. 117
การปกครองท้องถิ่น
ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามเพื่อให้หน่วยปกครองท้องถิ่นที่เป็น
เทศบาลไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่มีความเท่าเทียมกันในทางการคลัง
100
นั่นก็คือพยายามให้ประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาลต่างๆ ได้รับการบริการที่
อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน และเสียภาษีประเภทเดียวกันในอัตราเท่ากัน
อย่างไรก็ดียังมีเทศบาลที่มีความแตกต่างกันมาก เพราะจำนวนประชากร
และหรือรายได้ของเทศบาลแตกต่างกันมาก จนกล่าวได้ว่ามีเทศบาล
“จน” กับเทศบาล “รวย” และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือในเทศบาลที่จน
ประชากรในเทศบาลนั้นต้องเสียภาษีสูงกว่า ส่วนในเทศบาลที่รวย
ประชากรในเทศบาลเสียภาษีต่ำกว่า ซึ่งการที่ประชากรเสียภาษีแตกต่าง
กันมากก็มีผลทำให้เทศบาลที่จนมีแนวโน้มว่าจะจนลงไปอีกก็ได้ เพราะ
ประชากรที่อยู่ในเทศบาลที่จนต้องเสียภาษีในอัตราสูงอาจย้ายถิ่นฐานไปอยู่
ในเทศบาลที่รวยและเก็บภาษีต่ำกว่าได้ หากไม่ติดขัดด้วยเงื่อนไขอื่นที่
จำเป็น
110
ดังนั้น จึงมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ในขั้นต้นทางรัฐ
ได้ใช้วิธีการให้เงินอุดหนุนไปยังเทศบาลที่จนมากๆ ดังเช่นในรัฐโวด์ ซึ่งเป็น
รัฐที่มีเทศบาลขนาดเล็กเพราะมีประชากรอยู่น้อยเป็นจำนวนมาก ได้แบ่ง
ประเภทเทศบาลถึง 13 ประเภท เพื่อจัดมาตรการเสริมในการให้ความ
สนับสนุน หรือการคิดค่าร่วมใช้บริการแก่เทศบาลเล็กกว่าและจนกว่าใน
ราคาที่ถูกกว่า เป็นต้น
แต่การแก้ไขดังกล่าวมิได้ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะ
ประชาชนในแต่ละเทศบาลยังไม่สนับสนุน แม้แต่ความพยายามดำเนินการ
ที่จะให้อัตราภาษีในเทศบาลทั้งหลายมีอัตราเดียวกัน ไม่ใช่ต่างเทศบาล
ก็ต่างอัตรากัน ปรากฏว่าเมื่อต้องให้ประชาชนตัดสินโดยการออกเสียง
ประชามติผลคือประชาชนไม่ยอมรับข้อเสนอ ประชาชนยังต้องการให้อัตรา
100 Nicolas Schmitt, “The Swiss Municipal System : Heterogeneity,
Complexity, Topicality”, P 9