Page 231 - kpi11890
P. 231
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
22
ผู้ปกครองเด็กเล็กภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ และเจ้าหน้าที่
องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ต่างก็ต้องการแก้ไขปัญหาร่วมกัน นั่นคือ ปัญหา
ที่ว่า “ทำไมเด็กในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์นับตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน ถึงสอบเข้าแพทย์ศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์กันไม่เคยได้ เพราะจะได้
มีหมอประจำพื้นที่ เพื่อกลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของชาวผาสิงห์กัน
ต่อไป” จนนำมาสู่การเปิดเวทีการระดมความคิดเห็นครั้งแรกเพื่อหาคำตอบของ
ปัญหา และวิธีแก้ไข ด้วยการเชิญหน่วยงานอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการหาคำตอบ ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ของปัญหาในครั้งนี้ด้วย อาทิ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดน่าน สถานีอนามัยผาสิงห์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตองค์การบริหารส่วน
ตำบลผาสิงห์ กลุ่มผู้ปกครอง เป็นต้น จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการสร้างเครือข่าย
สาธารณสุขอย่างไม่เป็นทางการขึ้น มีการริเริ่มกระบวนการของการวางแผน
โครงการ กิจกรรม และกำหนดงบประมาณที่จะใช้ในแต่ละโครงการร่วมกัน และ
พัฒนาไปสู่การจัดตั้งแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ที่มีจิตสาธารณะเพื่อชุมชน
ที่มาจากความสมัครใจจากชาวบ้านในชุมชนทั้งที่เป็นผู้ปกครองและไม่ได้เป็น
ผู้ปกครองของเด็กเล็ก โดยพวกเขาไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ เพื่อให้อาสาสมัคร
ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังและคอยตรวจตราการบริโภคของเด็กเล็กว่าอยู่ในสภาวะ
สุ่มเสี่ยงให้เกิดโรคฟันผุหรือไม่ มีทักษะเพียงพอที่จะสามารถตรวจสุขภาพช่องปาก
เด็กเล็กได้ด้วยตนเองว่ามีฟันผุหรือไม่ เป็นต้น
จนกระทั่งเมื่อได้ดำเนินโครงการไประยะหนึ่งการสร้างเครือข่ายระหว่าง
องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์กับเครือข่ายภาคประชาชนในชุมชนก็ได้มีการ
ติดตามเพื่อประเมินผลโครงการในทุกๆ ปี ว่าโครงการที่ได้กระทำไปมีผลสำเร็จตาม
วัตถุประสงค์ที่คาดว่าจะได้รับหรือไม่ เพื่อนำมาปรับปรุงคิดค้นโครงการใหม่ร่วมกับ
เครือข่ายอื่นๆ ได้ต่อไป
นับได้ว่าเป็นการดำเนินงานภายใต้เครือข่ายระหว่างองค์การบริหาร
ส่วนตำบลผาสิงห์กับกลุ่มภาคประชาชนชุมชนที่มีความเข้มแข็งตามแนวคิดการมี