Page 119 - kpi11890
P. 119

บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
                                                                                    111

                 บทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหาร
                 ส่วนจังหวัดอำนาจเจริญมีการประสานความร่วมมือในลักษณะไตรภาคี เพื่อร่วม
                 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ประกอบด้วย หน่วยงานราชการส่วน
                 ภูมิภาคทั้งทางการเกษตร สาธารณสุข พัฒนาสังคม ร่วมกับชมรมอาสาสมัคร

                 สาธารณสุขประจำหมู่บ้านและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ที่เน้น
                 รูปแบบการบริหารในการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาสังคม โดยเฉพาะในการ
                 ทำแผนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่มีตัวแทนจากเครือข่ายต่างๆ ในฐานะขบวนองค์กร  ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม

                 ชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ มาร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน ส่งผล
                 ให้การดำเนินงานของเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกระดับ
                 มีทิศทางการดำเนินงานและดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ
                 ได้มากขึ้น


                      รวมไปถึงการผลักดันหรือส่งเสริมให้เกิดความผูกพันใกล้ชิดกันระหว่าง
                 ข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญกับ
                 สมาชิกเครือข่าย ทั้งในฐานะผู้ประสานงานและพี่เลี้ยง ซึ่งข้าราชการประจำ

                 นอกจากทำหน้าที่ตามภารกิจแล้วยังต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์หรือคณะ
                 กรรมการศูนย์ต่างๆ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดตั้งขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้
                 เกิดผลสำเร็จภายใต้กระบวนการติดตามกำกับให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งได้ถูก
                 ดำเนินการควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานที่ผู้บริหารเป็นผู้นำ

                 การเปลี่ยนแปลง เช่น การที่ผู้บริหารมาทำงานก่อนข้าราชการ และการสร้าง
                 มาตรฐานเวลาในการปฏิบัติงาน ภายใต้นโยบายให้หน่วยงานภายในสำนักงาน
                 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญเริ่มให้บริการประชาชนตั้งแต่ เวลา 08.00 น.
                 เป็นต้นไป เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ


                      (2)  ศักยภาพของแกนนำในระดับพื้นที่และการยอมรับของประชาชน
                 ที่ถือเป็นทุนทางสังคมซึ่งมีอยู่เดิมในการทำงานพื้นที่ ซึ่งมีความสามารถที่โดดเด่น

                 ในการประสานงาน รวมทั้งมีความเอาใจใส่ ให้ความสำคัญและมีความเป็นกันเอง
                 กับสมาชิกเครือข่าย ส่งผลให้การดำเนินการของเครือข่ายมีความเข้มแข็งและ
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124