Page 9 - kpi10607
P. 9
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1. การจัดการศึกษาและฝึกอบรม
การจัดการศึกษาอบรม ถือเป็นพันธกิจหลักของวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความ
เข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
ทั้งนี้เป้าหมายของการจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น ข้าราชการจาก
หน่วยงานส่วนกลาง และรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องทำงานประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ตลอด
จนประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจทางด้านการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น
การจัดหลักสูตรประจำปี
วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาหลักสูตรและเปิดการฝึกอบรมใน 3 ระดับ ได้แก่
1. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง วิทยาลัยฯ ได้กำหนดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตร
ประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน ซึ่งได้เริ่มทำการเรียนการสอนรุ่นแรก
ในเดือนสิงหาคม 2551 โดยหลักสูตรดังกล่าว มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการ
บริหารหลักสูตรฯ
2. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร วิทยาลัยฯ มีหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร จำนวน 4 หลักสูตร
ได้แก่ 1) หลักสูตรการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) หลักสูตรการพัฒนาเมือง
สำหรับผู้บริหารท้องถิ่น 3) หลักสูตรการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ และ 4) หลักสูตร
ด้านกฎหมายท้องถิ่น
3. หลักสูตรระดับวุฒิบัตร วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาความสามารถผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น เพื่อจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร้องขอให้วิทยาลัยฯ
จัดการฝึกอบรมให้เป็นการเฉพาะหน่วยงาน
2. การศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้
เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การดำเนินการ และการพัฒนา
ประสิทธิภาพในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัย
ในหลายเรื่อง หลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครอง
ท้องถิ่นในประเทศไทย โครงการวิจัยประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม
ของประชาชน โครงการประเมินความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น โครงการศึกษา
แนวทางการดำเนินการร่วมกันในการจัดบริการสาธารณะในต่างประเทศ และโครงการวิจัย Best Practices
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
. การให้บริการทางวิชาการ
วิทยาลัยฯ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ และการให้ความรู้ด้านการปกครองท้องถิ่น เพื่อเสริม
สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ปกครองท้องถิ่น โดยได้ดำเนินการในหลายส่วน อาทิ งานเวทีท้องถิ่นไทย งานสัมมนาวิชาการ การประชุม
เชิงปฏิบัติการ (โครงการเวทีท้องถิ่น Local Forum) การฝึกอบรม ให้ความรู้ด้านการปกครองท้องถิ่น
(โครงการพลเมืองยุคใหม่) การให้บริการคำปรึกษาทางวิชาการ การผลิตและเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น