Page 6 - kpi10607
P. 6
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
“สถาบันพระปกเกล้า” จึงถือกำเนิดขึ้นในฐานะเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ทางวิชาการ ที่มีภารกิจหลัก
สถาบันพระปกเกล้า ในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ศึกษาวิจัยปัญหาและเสนอแนะ
แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างมีระบบ เพื่อดำเนินรอยตามพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะพัฒนาประชาธิปไตยให้เกิดสันติสุขสถาพร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภาเป็นประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า คนแรก และมีศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าคนแรก ต่อมามีรองศาสตรจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นเลขาธิการสถาบัน
พระปกเกล้าคนต่อมา และปัจจุบันมี ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
วิสัยทัศน์สถาบันพระปกเกล้า
“สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันทางวิชาการแห่งชาติที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย
เพื่อสันติสุขสถาพร”
พันธกิจของสถาบันพระปกเกล้า
1. ด้านการศึกษาวิจัย
2. ด้านการให้การศึกษาอบรม
3. ด้านการส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา
4. ด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
5. ด้านการส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรในประเทศ และระหว่างประเทศ
6. ด้านบริหาร
7. ด้านพิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์ อันเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การบริหารงานภายในสถาบัน มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารสูงสุดในการบริหารงานและบังคับบัญชาบุคลากร
ภายในสถาบัน และมีรองเลขาธิการ 2 ตำแหน่ง และผู้ช่วยเลขาธิการ 1 ตำแหน่ง เป็นผู้ช่วยในการบริหารงาน
และแบ่งโครงสร้างการบริหารภายในเป็น 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1. สำนักงานเลขาธิการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบงานทางด้านการจัดการบริหารงานทั่วไป
งานประสานงานองค์กรอิสระ งานนโยบายและแผน งานบริหารงานบุคคล งานกฎหมาย งานระบบ
บริหารคุณภาพ งานศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบงาน และงานประสานงานทั่วไปภายในสถาบัน
2. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มีหน้าที่และความรับผิดชอบงานจัดการศึกษาอบรมหลักสูตร
ประกาศนียบัตรชั้นสูง การฝึกอบรม จัดการศึกษาวิเคราะห์วิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
การปกครอง