Page 5 - kpi10607
P. 5

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย







                       แนะนำสถาบันพระปกเกล้า


                                                                                                                    สถาบันพระปกเกล้า








                           จากองค์ราชันย์สู่สถาบันพระปกเกล้า


                                “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎร
                           โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด เพื่อใช้
                           อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”




                            วามดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อความจากลายพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.
                       ค2477 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแสดงให้เห็นน้ำพระทัย

                       ประชาธิปไตยขององค์ปฐมบรมกษัตริย์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย

                             นับตั้งแต่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 25

                       กุมภาพันธ์ พ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเตรียมการวางรากฐานการปกครองระบอบ
                       ประชาธิปไตย ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสันติสุขสถาพร

                             ในวโรกาสครบรอบ 100 ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก

                       พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภาใน
                       ขณะนั้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตย จนในที่สุด
                       จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นชื่อว่า “สถาบันพระปกเกล้า” โดยได้รับพระราชทานพระบรม

                       ราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เชิญพระนามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นชื่อ
                       สถาบันและใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “King Prajadhipok’s Institute” และมีคณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้า
                       และคณะกรรมการวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ดูแล


                             ต่อมาในปี 2540 คณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าควรจะมีการปรับปรุงสถานภาพและ
                       โครงสร้างสถาบันพระปกเกล้า ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา จึงได้แต่งตั้ง
                       คณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า และเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งที่ประชุมรัฐสภาได้มีมติเห็น

                       ชอบและได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 จึงมีผลให้สถาบันพระปกเกล้า มีฐานะ
                       เป็นนิติบุคคลในการกำกับดูแลของประธานรัฐสภา นับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10