Page 36 - kpi10440
P. 36
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
(8) จัดทำกิจการใดๆ อันเป็นหน้าที่ของเทศบาล หรือ อบต.ที่อยู่ในเขต
จังหวัด และกิจการนั้นสมควรร่วมกันดำเนินการ
(9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ
อบจ. หรือราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาค อาจมอบให้
อบจ. ทำ
2.2.2 เทศบาล
เทศบาลเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่ถือกำเนิดมาหลัง
จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย คือ ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบ
เทศบาล พ.ศ. 2476 ขึ้น และได้จัดตั้งเทศบาลครั้งแรกในปี พ.ศ.2478 โดยการยกฐานะ
ของสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิม 35 แห่งขึ้นเป็นเทศบาล นับจากนั้นได้มีการแก้ไขพระราช
บัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496
ซึ่งถือเป็นกฎหมายหลักของการบริหารราชการเทศบาลในปัจจุบัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์
แบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร โดย
ใช้เกณฑ์รายได้ และจำนวนประชากรเป็นหลักพิจารณา
เทศบาลมีการบริหารราชการประกอบไปด้วยสององค์กรคือ 1) ฝ่ายบริหาร
คือ นายกเทศมนตรี และ 2) ฝ่ายสภาเทศบาล ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีที่มาจากการ
เลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งเรียกว่า สมาชิกสภา
เทศบาล (สท.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลจะ
ถูกกำหนดโดยประเภทของเทศบาล ดังนี้
1. เทศบาลตำบล มีสมาชิกสภาเทศบาลได้จำนวน 12 คน
2. เทศบาลเมือง มีสมาชิกสภาเทศบาลได้จำนวน 18 คน
3. เทศบาลนคร มีสมาชิกสภาเทศบาลได้จำนวน 24 คน
สถาบันพระปกเกล้า 1