Page 41 - kpi10440
P. 41

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                2.2.4 กรุงเทพมหานคร

                     กรุงเทพมหานคร เป็น

              รูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบ
              พิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบ
              บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
              2528 จุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง
              กรุงเทพมหานคร เริ่มจากประกาศคณะ
              ปฏิวัติฉบับที่ 24 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยได้รวมจังหวัดพระนคร (กรุงเทพ)
              และธนบุรีเข้าเป็นจังหวัดเดียวกัน จัดระเบียบการบริหารราชการเป็นรูปการปกครองและ

              การบริหารพิเศษโดยเฉพาะเรียกว่า “นครหลวงกรุงเทพธนบุรี” และได้มีการประกาศ
              แก้ไขและจัดระเบียบการบริหารราชการใหม่ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่
              13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 โดยมีสาระสำคัญคือให้รวมพื้นที่ในเขตนครหลวงกรุงเทพ
              ธนบุรี ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และเรียกว่า “กรุงเทพมหานคร”

                       ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีการแบ่งพื้นที่การ

              บริหารออกเป็นเขตและแขวง มีลักษณะการบริหารประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานคร
              และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

                       กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตพื้นที่กรุงเทพ-
              มหานครตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีอำนาจในการจัดหารายได้ตามที่กฎหมาย
              กำหนดไว้ ตลอดจนสามารถออกกฎหมายเรียกว่า ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร โดยความ
              เห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร


                       สภากรุงเทพมหานคร  เป็นองค์กรของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่
              ในการเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลง
              มติ การตั้งกระทู้ถาม การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และการเปิดอภิปรายทั่วไป

                       สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่มาจาก

              การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนโดยประมาณในแต่ละ


           2        สถาบันพระปกเกล้า
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46