Page 357 - kpi10440
P. 357
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นไปตามเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญจึงได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 ขึ้นใหม่โดยแยกออกเป็นพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินพ.ศ. 2551 กับ พระราชบัญญัติสำนักงาน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้
รับเพิ่มเติม ตลอดจนการเสริมประสิทธิภาพ และความมั่นคงต่อเนื่องในการดำเนินงาน
ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน อีกทั้งเพื่อให้เกิดสอดคล้องกับองค์กรอิสระตาม
รัฐธรรมนูญอื่น เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ที่แยกระหว่างพระราชบัญญัติสำนักงานศาล
รัฐธรรมนูญ กับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล
รัฐธรรมนูญ
2) บทบาท อำนาจหน้าที่และขั้นตอนการทำงาน
สำหรับอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่
เพิ่มเติมจากเดิมประกอบด้วย
มาตรา 244 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
2.1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่
ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน
หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะ
ชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่
0 สถาบันพระปกเกล้า