Page 356 - kpi10440
P. 356

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                          ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

                 ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ทำการยึดอำนาจ และประกาศ
                 ยกเลิกรัฐธรรมนูญข้างต้น อย่างไรก็ตามคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
                 อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศฉบับที่ 14 ให้พระราชบัญญัติประกอบ
                 รัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไป

                          เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                 พุทธศักราช 2550 ขึ้นและประชาชนได้ลงมติประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่ง

                 ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550จึงเป็นผลให้องค์กร
                 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภาได้ทำหน้าที่ต่อไป

                          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญ
                 แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 และได้ประกาศใน
                 ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาเล่ม 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550

                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติให้คงองค์กรผู้ตรวจการ
                 แผ่นดินของรัฐสภาไว้ แต่ด้วยอำนาจหน้าที่ที่เปลี่ยนไป และมี หน้าที่ตรวจจริยธรรมของ
                 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและสมาชิกรัฐสภา ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นองค์กรของรัฐสภา
                 อีกต่อไปจึงได้บัญญัติปรับเปลี่ยนชื่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสียใหม่ เป็น “ผู้ตรวจ
                 การแผ่นดิน” โดยได้ให้อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น ได้แก่

                 การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                 การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                 ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม (ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพิ
                 จารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล) การติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการ
                 ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่า
                 มีความจำเป็น ตลอดจนการพิจารณาสอบสวนได้ด้วยตนเองโดยไม่มีคำร้องเรียนหาก
                 กรณีดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชน ส่วนรวมหรือเป็นการคุ้มครอง

                 ประโยชน์สาธารณะ





                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361