Page 336 - kpi10440
P. 336

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                 10.2  องค์กรตรวจสอบ


                  10.2.1 ศาลปกครอง

                        ศาลปกครอง คือ ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณา
                 พิพากษาคดีที่เป็น ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงาน
                 ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่
                 ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับ

                 เอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
                 หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของ
                 รัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่
                 หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของ
                 รัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่

                 หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของ
                 รัฐต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

                        ศาลปกครอง จะแตกต่างจากศาลยุติธรรมที่สำคัญคือ วิธีพิจารณาคดีของ
                 ศาลปกครองจะเป็นระบบไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงที่แท้จริงซึ่งผู้พิพากษาจะมีบทบาทมาก
                 แต่วิธีพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมจะเป็นระบบกล่าวหา และผู้พิพากษาศาลปกครองจะ
                 เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในทางการปกครอง ไม่จำเป็นต้องมีคุณวุฒินิติศาสตร์

                 บัณฑิต และเนติบัณฑิตไทย

                        “ศาลปกครอง” มีขึ้นเพื่อเป็นองค์กรหลักองค์กรหนึ่งในการตรวจสอบการใช้
                 อำนาจของทางราชการ เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนและคุ้มครองประโยชน์ของส่วนรวม
                 ให้ได้ดุลยภาพกัน และเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ ด้วยการทำ
                 หน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงาน

                 ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง
                 และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่างๆ หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง อันเนื่อง
                 มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือของเจ้าหน้าที่ของรัฐ


                                                              สถาบันพระปกเกล้า    1
   331   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341