Page 298 - kpi10440
P. 298
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
2) ขั้นตอนวางแผน
จากข้อมูลต่างๆ ในขั้นเตรียมการ ทีมงานต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำ
แผนการมีส่วนร่วมของประชาชน
2.1) ระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ละประเด็นการตัดสินใจ
มีผู้สนใจหรือได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน บางประเด็นมี 20 คน
บางประเด็นอาจมีเป็นจำนวนพัน นอกจากนั้นคำว่าสาธารณะหรือ
ประชาชนแตกต่างกันไปตามประเด็นการตัดสินใจ ในขั้นนี้ทีมงาน
ต้องดำเนินการ 2 ขั้นตอนคือ
(1) ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholders ซึ่งหมายถึง
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ
จากการตัดสินใจนั้น
(2) วิเคราะห์ความสำคัญและอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไม่ใช่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีรูปแบบการมีส่วนร่วม
เดียวกัน และแต่ละกลุ่มมีประเด็นกังวลใจที่แตกต่างกัน
บางกลุ่มอาจมองประเด็นการตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญมาก
บางกลุ่มอาจต้องการเพียงแสดงความคิดเห็น ฉะนั้นทีมงาน
ต้องวิเคราะห์ประเภทของกลุ่มตามระดับความสนใจ ซึ่งช่วย
กำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมได้สอดคล้องต้องกัน
2.2) คาดการณ์ระดับการโต้เถียง ขั้นตอนนี้ทีมงานต้องประเมินหรือ
คาดการณ์จากข้อมูลขั้นเตรียมการว่าระดับของการถกเถียงหรือ
การโต้แย้งจะเป็นอย่างไร ซึ่งการประเมินเป็นเรื่องยากแต่อาจ
พิจารณาจากตัวชี้วัดเช่น
(1) เคยมีการถกเถียงหรือการโต้แย้งในประเด็นนี้มาก่อนหรือไม่
(2) มีประเด็นทางการเมืองเกี่ยวข้องหรือไม่
สถาบันพระปกเกล้า 2 1