Page 295 - kpi10440
P. 295
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
เจ้าของโครงการหรือมีอำนาจอนุมัติต้องจัดการกระบวนการอย่างจริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์
ปราศจากอคติ ให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารสองทางอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะ
การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและพอเพียง ตอบสนองต่อความสงสัยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวม
ทั้งแจ้งความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงของโครงการอย่างต่อเนื่อง อธิบายกระบวนการ
ต่างๆอย่างชัดแจ้ง ลดข้อสงสัยต่างๆที่อาจก่อให้เกิดข่าวลือ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในระยะเริ่มต้น ขณะเดียวกันตั้งใจรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นและนำไปเป็นข้อมูล
สำหรับการตัดสินใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจซึ่งกัน
และกัน ความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือนำมาซึ่งความร่วมมือ ความเข้าใจ และการ
สื่อสารที่ดีขึ้น
4) Suitability
หลักการที่สำคัญประการสุดท้ายของการบริหารการมีส่วนร่วมคือการ
เลือกเทคนิคหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมของการประชาชนต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
โดยพิจารณาจากประเภทและขนาดของโครงการ ความหลากหลายและลักษณะที่แตกต่าง
กันพื้นที่และของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนความแตกต่างด้านวัฒนธรรม สังคม
และค่านิยม ระดับความสนใจของชุมชนในประเด็นหรือโครงการ ความสามารถและความ
พร้อมรวมทั้งข้อจำกัดของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม เช่น
ด้านระยะเวลา บุคลากรและ งบประมาณ ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมอยู่ที่ความ
สามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และเลือกกระบวนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม การมี
ส่วนร่วมที่สร้างสรรค์ต้องประกอบด้วยกระบวนการย่อยหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นทางการ
และไม่เป็นทางการ นอกจากนั้นต้องตระหนักว่าการให้ข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงเป็น
องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของการปรึกษาหารือที่มีประสิทธิผล
9.3.3 ขั้นตอนการวางแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีประสิทธิผลควรมีการวางแผน ซึ่งประกอบ
ด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นการจัดทำแผนการมีส่วนร่วม และ
3) ขั้นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
2 สถาบันพระปกเกล้า