Page 163 - kpi10440
P. 163
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
(7) หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(8) วิธีการทำงานและการตรวจสอบ
(9) อำนาจในการตราอนุบัญญัติ
มีการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอื่นและผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจาก
การมีกฎหมายนั้นแล้วหรือไม่ หลักข้อนี้ปัจจุบันเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะบางครั้ง
กฎหมายแม่บทระบุให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อน หรือบางเรื่องโดยเนื้อหาอาจจะต้อง
รับฟังความคิดเห็นก่อน แม้มิได้กำหนดเป็นเงื่อนไข เช่น การกำหนดประมวลจริยธรรม
6.7.2 การวางโครงสร้าง
นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงวางโครงสร้างให้มีความชัดเจน แน่นอน ไม่สับสน
โดยใช้หลักตรรกวิทยา ลำดับเหตุการณ์ สำหรับเนื้อเรื่อง จัดหมวดหมู่ สำหรับโครงสร้าง
และจะต้องเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย และสามารถค้นหาง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการอ้างอิง
6.7.3 จัดหมวดหมู่
อันประกอบด้วย หมวด ส่วน มาตรา หรือข้อ วรรค อนุมาตรา หรืออนุข้อ
และในการเขียนแต่ละข้อไม่ควรที่จะมีวรรคหรือย่อหน้ามากจนเกินไป เพราะจะก่อให้เกิด
ความสับสนได้ และในแต่ละข้อจะต้องมีเนื้อความที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
ในการเขียนแต่ละข้อไม่ควรที่จะมีวรรคหรือย่อหน้ามากจนเกินไป เพราะจะ
ก่อให้เกิดความสับสนได้ และในแต่ละข้อจะต้องมีเนื้อความที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
1) การจัดเรียงลำดับวรรค ในหนึ่งข้อหรือในหนึ่งมาตรามีการเรียงตามวรรค
ในการเรียกลำดับวรรคที่หนึ่งนั้นสามารถเรียกได้ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคแรก ส่วนวรรค
สุดท้ายนั้นหากเรียกว่า “วรรคสุดท้าย” จะก่อให้เกิดปัญหาในทางกฎหมาย โดยเฉพาะ
กรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อท้าย อาจก่อให้เกิดความสับสนได้
1 สถาบันพระปกเกล้า