Page 65 - kpi11663
P. 65
6
ติดตามงาน เป็นต้น ศบกต. กระตุ้นให้ผู้นําชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผน
พัฒนาการเกษตรตามแผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิต และส่งเสริมอาชีพและการตลาด
โดยมีการปรับปรุงพัฒนาแผนทุกปี ตลอดจน ศบกต. ยังวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลหรือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประสานจัดหางบประมาณและบริหารจัดการเงินทุนของศบกต.
ทั้งนี้ ศบกต. ดำเนินกิจกรรมหลากหลาย อาทิ
= จัดทําข้อมูลการเกษตรโดยจัดเก็บ สํารวจ ตรวจสอบ เผยแพร่ และใช้ประโยชนข้อมูล
ในการพัฒนาการเกษตรระดับตําบล
= จัดทําแผนพัฒนาการเกษตรระดับตําบลโดย
(1) มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และนําเสนอข้อมูลปัญหา/ความต้องการของชุมชนใน
เวทีประชาคมระดับหมู่บ้านที่เทศบาลจัดขึ้น เพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาการเกษตร
ของหมู่บ้าน
(2) เสนอแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้านเข้าสู่เวทีประชาคมในระดับตําบล
เพื่อปรับปรุง เป็นแผนพัฒนาการเกษตรระดับตําบลและบูรณาการกับแผนพัฒนา
ท้องถิ่น
(3) เสนอแผนพัฒนาการเกษตรระดับตําบลที่ผ่านการบูรณาการแล้วให้เทศบาลหรือ
หน่วยงานอื่นเพื่อพิจารณาหาแหล่งสนับสนุนงบประมาณในพื้นที่
(4) เสนอแผนงาน/โครงการที่เกินศักยภาพของเทศบาลเข้าสู่แผนพัฒนาระดับอําเภอ
หรือจังหวัด
= จัดการเรียนรู้/การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรโดยมีฐานการเรียนรู้ ได้แก่
ฐานการเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ฐานการเรียนรู้โรงสีข้าวชุมชน ฐานการเรียนรู้
การผลิตเตาอั้งโล่ประสิทธิภาพสูง ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงกบ ฐานการเรียนรู้การปลูก
มะนาวในวงบ่อซีเมนต์ และฐานการเรียนรู้การออมทรัพย์เพื่อการผลิต และการเรียนรู้
อื่นๆ เช่น ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
= ให้บริการทางการเกษตร ณ ที่ทําการ ศบกต. อาทิ การรวบรวมปัญหาความต้องการ
ของเกษตรกรในพื้นที่ สรุปปัญหา จัดลําดับความเร่งด่วนของปัญหา และจัดทํา
โครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การสนับสนุนในกรณีที่ปัญหาดังกล่าว
ไม่สามารถแก้ไขได้ในระดับพื้นที่
รางวัลพระปกเกล้า’ 60