Page 58 - kpi11663
P. 58
5
เทศบาลเป็นแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบทที่นิยมสร้างครอบครัวเดี่ยว และลูกหลานทำงานในช่วงเวลา
กลางวัน จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยเพียงลำพัง และที่ผ่านมาเกิดเหตุการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุ
มากถึง 3 รายจากการถูกทอดทิ้ง
จากสภาพปัญหาของผู้สูงอายุดังกล่าว นายกเทศมนตรีตำบลยางเนิ้งจึงกำหนดนโยบาย
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยกำหนดให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ดีและมีสุข รวมทั้งได้กำหนด
ยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานสัมฤทธิ์
ผลและยั่งยืน เทศบาลเริ่มต้นด้วยการสร้างความตระหนักถึงปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ด้วย
การประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย เพื่อให้ประชาชนทราบถึงปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแลผู้สูงอายุ
และผลเสียของการที่ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง นอกจากนี้ เทศบาลยังนำประเด็นปัญหา
เรื่องผู้สูงอายุเข้าสู่การประชุมวาระยามเช้า ซึ่งเป็นการประชุมประจำเดือนระหว่างผู้บริหารท้องถิ่น
พนักงานเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการของทุกหมู่บ้านรวมถึง
การประชุมผู้สูงอายุของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อพูดคุยถึงปัญหา ปรึกษาหารือ และค้นหาแนวทางในการ
แก้ไขปัญหาร่วมกัน
ผลจากการประชุมร่วมกันหลายครั้ง ได้แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดสังคมและกลุ่มติดเตียง และจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ตามกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ จำนวน 3 ทีม ได้แก่ 1) ทีมสร้าง เสริม เพิ่มเติมความเข้าใจ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานเทศบาล 2) ทีมสร้าง เสริม
เติมความสุข ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ประกอบด้วย พนักงานเทศบาล ทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาล อาสา
สมัครประจำหมู่บ้าน และจิตอาสา และ 3) ทีมสร้าง เสริม เติมความสุขของศูนย์พัฒนาศักยภาพ
ผู้สูงอายุ ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ ข้าราชการบำนาญ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน แม่บ้าน
จิตอาสา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดเชียงใหม่
ทีมสร้าง เสริม เพิ่มเติมความเข้าใจ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง จัดประชุมประจำเดือน
เพื่อพบปะพูดคุย รับฟังปัญหา/ความต้องการของผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน รวมทั้งชี้แจงผล
การดำเนินงานของเทศบาล ซึ่งในแต่ละเดือนมีผู้สูงอายุเข้าร่วมประชุมจากทั้ง 8 หมู่บ้านประมาณ
200-300 คน การประชุมนี้เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างเทศบาลและผู้สูงอายุ ซึ่งเทศบาลจะนำ
รางวัลพระปกเกล้า’ 60