Page 215 - kpi11663
P. 215
21
- เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและนำอุปกรณ์เหลือใช้หรือไม่ใช้นำมา
ปรับปรุงคุณภาพ
- เพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในการรับ
บริจาคอุปกรณ์ และวิเคราะห์สภาพการช่วยเหลือของกลุ่มเป้าหมายได้อย่าง
ถูกต้อง
3. การจัดตั้งกองทุนอาสาปันสุขภายในชุมชน โดยให้สมาชิกอาสาปันสุขแต่ละชุมชน
จัดตั้งกองทุนเพื่อขอรับบริจาค วัสดุ อุปกรณ์ มอบให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังและ
ผู้ด้อยโอกาส
4. การจัดตั้งกองทุน 1 บาท 1 การประชุม จากการบริจาคของคณะกรรมการต่างๆ
- เพื่อใช้สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาปันสุขตำบลอุโมงค์
- เพื่อสำหรับซื้อวัสดุ อุปกรณ์ อาหารเสริม ในการออกเยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
เรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส
5. ประชาสัมพันธ์โครงการอาสาปันสุข เพื่อรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการเพิ่มเครือข่าย
การทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส ได้รับความช่วยเหลือ
อย่างครอบคลุม
6. ยกระดับชมรมอาสาปันสุขขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจิตอาสาระดับตำบล เพื่อให้ผู้สนใจ
เข้าศึกษาเรียนรู้ การดำเนินงานชมรมอาสาปันสุข ได้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และนำไปสู่
ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ได้แก่
- ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจากอาสาปันสุข
ตำบลอุโมงค์
- ครอบครัว ชุมชน ตื่นตัว มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแล และมองเห็นความสำคัญของ
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส
- สร้างอาสาสมัครให้เป็นนักสังคมสงเคราะห์พื้นบ้าน
- ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส มีกำลังใจในการดำรงชีวิต ไม่ถูก
ทอดทิ้ง
- ทำให้จำนวนสมาชิกอาสาปันสุขที่เพิ่มขึ้น จากการที่ อสป.แต่ละคนจะพาลูกหลาน
ไปร่วมปฏิบัติภารกิจด้วย เกิดเป็น อสป.น้อย
รางวัลพระปกเกล้า’ 60