Page 203 - kpi11663
P. 203

202


                     การสอนแบบ Active Learning เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกต่อ
                     ปัญหาของชุมชน เน้นการสอนเชิงรุกให้ปฏิบัติและใช้ได้จริง เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฎิบัติ
                     มากกว่าผู้ฟัง ไม่เน้นการเรียนการสอนในหนังสือหรือในห้องเรียน แต่เน้นให้ผู้เรียน
                     เป็นศูนย์กลาง

                 =  ดำเนินการจัดประชุมแบบทางการและไม่เป็นทางการระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อ

                     กำหนดแนวทางเป้าหมายของการสร้างสังคมแห่งความผาสุข อาทิ  โรงพยาบาล
                     พระนารายณ์มหาราช โรงพยาบาลอานันทมหิดล คณะกรรมการชุมชน กำนัน
                     ผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น

                 =  เครือข่ายร่วมกันคิดและเขียนหลักสูตร “เขยิบวัย” ให้เกิดขึ้นจริงและสามารถนำมา
                     บรรจุไว้ในโรงเรียนของเทศบาลตำบลเขาพระงาม ซึ่งเนื้อหาวิชาที่ใช้สอนนั้นมาจาก
                     การระดมความคิดและการนำประสบการณ์ในพื้นที่จริงมาออกแบบ กล่าวคือ การถอด

                     บทเรียนการปฏิบัติงานผู้สูงอายุของกองสาธารณสุขและกองสวัสดิการสังคมของ
                     เทศบาลตำบลเขาพระงามร่วมดำเนินการกับโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเขาพระงาม
                     และคณะกรรมการสถานศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำหลักสูตร “เขยิบวัย”
                     ในรูปแบบลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นชุดความรู้และเพื่อให้เครือข่ายร่วมกำกับ
                     การดำเนินงานหลักสูตรเขยิบวัยให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง


                 =  เครือข่ายร่วมกันคิดประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีความคิดสร้างสรรค์เข้ามาใช้ใน
                     สถานการณ์จำลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบอุปกรณ์จำลองเสมือนเป็นผู้สูงอายุ
                     ให้มีการฝึกใช้อุปกรณ์จำลอง (TEST to TEST) เพื่อใช้ในการศึกษาสภาพภาวะ
                     ร่างกายของผู้สูงอายุ โดยสาธิตและทดลองใช้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเด็กและเยาวชน
                     จะสวมใส่อุปกรณ์จำลองทั้งวันในการทำกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน กิจกรรมพละ

                     การจำลองและสาธิตวิธีการดังกล่าวเป็นไปเพื่อสร้างให้เด็กและเยาวชนเข้าใจถึง
                     สภาพร่างกายของผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น สวมแว่นตาบังเลนส์เพื่อเรียนรู้ถึงความ
                     บกพร่องทางสายตา ใส่ที่ครอบหูเพื่อเรียนรู้ถึงอาการหูเสื่อมไม่ได้ยิน สวมสายรัดถ่วง
                     น้ำหนักที่ข้อมือ ข้อเท้าเพื่อเรียนรู้การเดินที่ไม่คล่องตัวและเหนื่อยกว่าปกติ
                     การสวมใส่เข็มขัดเรียนรู้สรีระการโย้ตัวไปข้างหน้าให้ถ่วงน้ำหนักเหมือนจะล้มเวลา
                     ก้าวเดิน



             รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208