Page 202 - kpi11663
P. 202
201
ไม่ดำเนินการงานซ้ำเช่นเดิมเหมือนทุกๆ ปีแต่ต่อยอดให้มีการเน้นถึงการสร้างสังคมแห่งความ
ผาสุก (Wellbeing) จนกระทั่งเป็นที่มาของนวัตกรรมห้องเรียนจำลอง “เขยิบวัย” นวัตกรรม
ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนให้เข้าใจถึงคนรุ่นปู่ย่าตายาย
ที่มีความยากลำบากในการดำรงชีวิต สอนให้เด็กและเยาวชนมีความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุและ
พร้อมปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในบ้านของตนเองหรือผู้สูงอายุในชุมชน พร้อมรับมือ
กับสถานการณ์ในอนาคตของชุมชน นอกจากนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจและปฎิสัมพันธ์
ที่ไม่ดีระหว่างเด็กกับผู้สูงอายุ และสุดท้ายก็เพื่อผลิตผู้ดูแลและผู้พึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุที่ยังแข็ง
แรงให้มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุคนอื่นๆ ให้มากขึ้น ทั้งนี้ คำว่า “เขยิบวัย” ลิขิตขึ้นก็เพื่อ
ต้องการสื่อสารให้เห็นถึงความพยายามขยับให้วัยเด็กและผู้สูงอายุเข้ามาใกล้ชิดกันผ่านการจำลอง
สถานการณ์ให้เด็กและเยาวชนได้ใช้ชีวิตประจำวันให้ใกลเคียงกับวัยสูงอายุ
กลุ่มเครือข่ายห้องเรียนจำลอง “เขยิบวัย” ที่สำคัญ ได้แก่
= เครือข่ายทุน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเขาพระงาม คณะกรรมการ
สถานศึกษาฯ ชมรมผู้พิการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เครือข่ายผู้ปกครอง
ชมรมผู้สูงอายุ นักเรียนโรงเรียนปัจฉิมวัยวิทยา จิตอาสา สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร
= เครือข่ายความรู้ ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท โรงพยาบาล
พระนารายณ์มหาราช โรงพยาบาลอานันทมหิดล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระงาม
สนับสนุนความรู้ทางวิชาการ และการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
= เครือข่ายสังคม ได้แก่ คณะกรรมการชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะผู้มีบทบาท
อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน รู้จักทุกชุมชนและรู้จักบ้านแต่ละหลังภายในตำบลเขาพระงามและมีความ
เข้มแข็งทั้งกายและใจ ช่วยสนับสนุนบุคลากร และอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่สำรวจ
ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครของเทศบาลตำบลเขาพระงามมีวิธีการดำเนินงาน คือ
= มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารห้องเรียน คณะกรรมการดำเนินโครงการ
คณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการร่วมกันระหว่างเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ
โดยคณะกรรมการฯ หลายฝ่ายจะร่วมกันออกแบบนวัตกรรมที่เน้นการเรียนและ
รางวัลพระปกเกล้า’ 60