Page 177 - kpi11663
P. 177
1 6
จากประชาชนในพื้นที่ที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ได้อาสา
เข้ามาพัฒนาแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าโดยไม่มีค่าตอบแทน และได้มีการขยายเครือข่ายความร่วมมือ
ในการทำงานร่วมกัน การแบ่งหน้าที่กันทำ ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่
ระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มจิตอาสา ชุมชน โรงเรียน วัด ภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
จนทำให้ปัจจุบันคลองแม่ข่าเริ่มพลิกฟื้นมีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น
เครือข่ายสายใยรักแห่งครอบครัวตำบลป่าแดด
เทศบาลตำบลป่าแดด เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท อาชีพดั้งเดิมของประชากร คือ
การทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา แต่ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นที่อยู่อาศัยเกือบทั้งหมด
โดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งกระจายอยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ของตำบลป่าแดด และมีอาคารร้านค้า
โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ประชากรปัจจุบันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นอกจากนั้นคือ
ค้าขาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน เกษตรกรรม ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ ลูกจ้างในหน่วยงาน
ราชการและรัฐวิสาหกิจ จากอาชีพที่ทำอยู่ ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย
6 เดือน ในตำบลป่าแดดต่ำกว่าร้อยละ 30 มีการฝากครรภ์ช้ากว่า 12 สัปดาห์ และเกิดการเจ็บป่วย
ในเด็ก 0-12 เดือน เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครอบครัวเดือดร้อน ขาดความอบอุ่น
หลังจากเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ต้องไปฝากศูนย์เด็กเล็กเอกชนและต่อด้วยเข้าโรงเรียนเอกชนซึ่งมี
ค่าใช้จ่ายสูง การเดินทางระยะทางไกล
รางวัลพระปกเกล้า’ 60