Page 173 - kpi11663
P. 173
1 2
จากข้อมูล เห็นได้ว่าเทศบาลตำบลป่าแดด เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในช่วงปลายน้ำ
หากขาดการเอาใจใส่และความรับผิดชอบจากคนต้นน้ำย่อมแก้ปัญหาได้ยาก ดังนั้น เพื่อให้
การแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าบรรลุผลสำเร็จได้ จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือและ
การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งใน
ช่วงต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้น จึงนำไปสู่การร่วมกันแก้ปัญหาในลักษณะภาคีเครือข่าย
1. เครือข่ายภายในตำบลป่าแดด
ประกอบไปด้วย
1) เทศบาลตำบลป่าแดด มีบทบาทหน้าที่เชื่อมโยงประสานงานให้เกิดการทำงานร่วมกัน
ของภาคีต่างๆ เป็นผู้สนับสนุนข้อมูล สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนสถานที่ในการดำเนินงาน
การจัดประชุม และสนับสนุนบุคลากรในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการขยายการเข้ามามีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วน เช่น กำจัดขยะ ขุดลอกคลอง โดยประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
เทศบาลนครเชียงใหม่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง นำเครื่องจักรเข้ามาจัดเก็บขยะ
และวัชพืชเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยปลูกต้นไม้ปรับพื้นที่ริมสองฝั่งคลอง
แม่ข่า จัดอบรมให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และรักษาคลองแม่ข่า
2) เครือข่ายสมาชิกจิตอาสา/ทสม. บ้านแม่ข่าน้อย หมู่ที่ 1 และบ้านแม่ข่าใต้ หมู่ที่ 9
มีบทบาทหน้าที่ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ และปฏิบัติการ เช่น ประสานงานกับชุมชน/ หน่วยงาน
ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครัวเรือนริมสองฝั่งคลองแม่ข่า รวมถึงประชาชนทั่วไป
ปฏิบัติการจัดทำแพไม้ไผ่และตะแกรงเหล็กดักขยะ อุทิศตนทำงานด้านอนุรักษ์และคุ้มครอง
ทรัพยากรธรรมชาติ และคอยสอดส่องดูแลเกี่ยวกับปัญหาคลองแม่ข่าในพื้นที่โดยไม่ได้รับ
ค่าตอบแทนใดๆ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบในการจัดเก็บขยะและผักตบชวา กำจัดวัชพืชและตัดกิ่ง
ไม้ริมสองฝั่งคลอง ใช้น้ำปุ๋ยหมักชีวภาพและลูกบอลชีวภาพ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสีย
อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน
3) วัดเทพนิมิต และคริสตจักรพันธกิจเชียงใหม่ มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้นำทางความคิด
และจิตวิญญาณในการสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธ หรือ
ศาสนาคริสต์ จึงเกิดกุศโลบายแห่งความร่วมมือกันระหว่างชุมชนกับสถาบันทางศาสนา เช่น
กิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อนำเงินเข้ากองทุนพัฒนาคลองแม่ข่า พิธีสืบชะตาคลองแม่ข่า
รางวัลพระปกเกล้า’ 60