Page 74 - kpiebook67033
P. 74

รายงานผลการประเมินสถานการณ์
          ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
             เมื่อพิจารณาในรายภาค พบว่า ในปี 2565 ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามในภาคใต้ต่อต้าน
          การทุจริตมากที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคะแนน 75.7 กรุงเทพมหานคร โดยมีคะแนน 74.8
          ภาคเหนือ มีคะแนน 70.7 และภาคกลาง มีคะแนน 68.7 ตามลำาดับ

          5.3 สรุปผลก�รศึกษ�
             จากการประเมินระดับความเป็นประชาธิปไตยในบริบทของสังคมไทยในมุมมองของ
          ประชาชน พบว่า ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลาง โดยในปี 2565
          มีคะแนน 55.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 เล็กน้อย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแนวโน้มของระดับความเป็น
          ประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2560 พบว่า ในปี 2560 มีคะแนนอยู่ที่ 59.2 และเพิ่มขึ้นเป็น 61.0 คะแนน
          ในปี 2561 อย่างไรก็ตาม ระดับความเป็นประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่ลดลงนับตั้งแต่ปี 2562 จนถึง
          ปี 2564 คือมีคะแนน 58.4 และ 55.0 ตามลำาดับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2564 และ ปี 2565
          เล็กน้อย

             สำาหรับมิติด้านการเคารพสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่ลดลงอย่าง
          ต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2565 ที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมิติย่อยที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ
          การมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลของรัฐ ซึ่งมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลางคือในช่วง 50 คะแนน
          และน้อยกว่า 50 คะแนนในปี 2565 ในขณะที่มิติย่อยอื่น ๆ มีคะแนนในช่วง 65 - 73 คะแนน
          นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในรายภาคของมิตินี้ พบว่า ภาคที่มีคะแนนน้อยที่สุดในปี 2565 คือ
          ภาคกลาง ซึ่งลดลงจากปี 2564 ประมาณ 2 คะแนน ในขณะที่ภาคใต้มีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 69.5 คะแนน
          เป็น 70.0 คะแนน

             สำาหรับมิติการยึดมั่นในหลักนิติธรรม พบว่า ในภาพรวมมีคะแนนลดลงเล็กน้อย เช่นเดียวกับ
          มิติย่อย อย่างการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ความเชื่อมั่นต่อระบบกฎหมาย และ การเข้าถึง
          กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม และเมื่อพิจารณาในรายภาค พบว่า ภาคใต้มีคะแนน
          การยึดมั่นในหลักนิติธรรมมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในทางกลับกัน
          ภาคที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร

             ด้านการมีทุนทางสังคม ประกอบด้วยการเป็นสมาชิกกลุ่มหรือชมรมและการเชื่อมั่น
          กันและกัน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนให้ความเชื่อมั่นต่อบุคคลใกล้ตัวมากที่สุด นั่นคือ ญาติ
          เพื่อนบ้าน และบุคคลอื่นที่ติดต่อ ตามลำาดับ โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปี 2564 พบว่า
          ในภาพรวมประชาชนมีทุนทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น แต่ลดน้อยลงในปี 2565 เมื่อพิจารณาใน
          รายมิติย่อย ประชาชนมีความเชื่อมั่นกันและกันลดลงรวมถึงเรื่องของการรวมกลุ่มที่ลดลงเล็กน้อย
          เมื่อพิจารณาในรายภาค พบว่า ผู้ตอบในภาคเหนือมีทุนทางสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคตะวันออก
          เฉียงเหนือ ในทางกลับกัน ผู้ตอบในกรุงเทพหมานครเป็นพื้นที่ที่มีทุนทางสังคมน้อยที่สุดในปี 2565
          โดยมีคะแนน 37.6 คะแนน



           72
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79