Page 70 - kpiebook67033
P. 70
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
(Sig = .000)
ภาพ 5.11 ผลการประเมินตัวชี้วัดที่นำามาซึ่งความเป็นประชาธิปไตย
ด้านการมีทุนทางสังคม รายภาค
เมื่อพิจารณาภาพรวมของตัวชี้วัดด้านการมีทุนทางสังคมในรายภาค พบว่า ประชาชนที่
ตอบแบบสอบถามในภาคเหนือให้คะแนนกับการมีทุนทางสังคมมากที่สุด โดยมีคะแนน 56.6
รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคะแนน 53.0 ภาคใต้ มีคะแนน 48.4 ภาคกลาง มีคะแนน
41.9 และกรุงเทพมหานคร มีคะแนน 37.6 ตามลำาดับ
5.2.5 การประเมินตัวชี้วัดที่นำามาซึ่งความเป็นประชาธิปไตย ด้านการเชื่อมั่นในสถาบันต่าง ๆ
ตัวชี้วัดหลัก การเชื่อมั่นในสถาบันต่าง ๆ (รหัส T)
รหัส องค์ประกอบย่อย
T1 เชื่อมั่นต่อรัฐสภา
T2 เชื่อมั่นต่อรัฐบาล
T3 เชื่อมั่นต่อศาล
T4 เชื่อมั่นต่อข้าราชการ ทหาร และตำารวจ
T5 เชื่อมั่นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น
T6 เชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ในมิติด้านความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่าง ๆ ประกอบด้วย เชื่อมั่นต่อรัฐสภา เชื่อมั่นต่อรัฐบาล
เชื่อมั่นต่อศาล เชื่อมั่นต่อข้าราชการ ทหาร และตำารวจ เชื่อมั่นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น และ
เชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ในภาพรวมพบว่ามีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมี
คะแนน 59 และเมื่อพิจารณาในรายมิติย่อย พบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อมั่นต่อศาล
มากที่สุด โดยมีคะแนน 66.6 รองลงมาคือ เชื่อมั่นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีคะแนน 62.9
68