Page 84 - kpiebook67027
P. 84
83
พระราชนิยมด้านการทรงพระอักษร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยในการอ่านเป็นอย่างยิ่ง อันจะเห็น
ได้จากหนังสือส่วนพระองค์จ�านวนมาก ซึ่งมีกลุ่มหมวดหมู่ที่หลากหลายครอบคลุมหัวข้อเรื่อง
โดยกว้างทั้งบริบทสังคม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ เกษตร การต่างประเทศ
การแพทย์ ศิลปะ และวรรณกรรม เป็นต้น รวมถึงหนังสือที่ทรงยังมีหลายภาษาทั้งภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
อีกด้วย แสดงให้เห็นถึงพระวิริยะ
ในการเรียนรู้ศาสตร์แขนงต่าง ๆ อยู่
เสมอ หนังสือส่วนพระองค์หลายเล่ม
พระองค์ทรงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่
ครั้งยังด�ารงพระอิสริยยศเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปก
ศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
ดังปรากฏตราประทับในหนังสือ
บนป้ายบรรณสิทธิ (Bookplate)
ซึ่งเป็นป้ายแสดงว่าเป็นหนังสือ
ของพระองค์ พระนาม ประชาธิปก และพระปรมาภิไธยย่อ ปปร หนังสือบางเล่มยังปรากฏตรา
ประทับ วชิราวุธ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และตราพระราชลัญจกรของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าหนังสือนี้ได้ทรงอ่านสืบทอดกันมา
หลายรัชสมัยแล้ว ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น จากพระราชกิจรายวันซึ่งมีการบันทึกไว้
ในวันที่ไม่มีพระราชกิจยามบ่ายจะทรงออกก�าลังพระวรกายแล้วจึงทรงพักผ่อนและทรงหนังสือเล่ม
ในวันธรรมดา เมื่อเสวยพระกระยาหารค�่าแล้ว ทรงหนังสือเล่ม ยกเว้นวันเสาร์ และวันพฤหัสบดี
การทรงหนังสือจ�านวนมากและหลากหลายศาสตร์เช่นนี้เอง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงมี
พระราชวิสัยทัศน์ในการประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง
มากมาย ทรงได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความส�าเร็จและความล้มเหลวของการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยจากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของต่างประเทศ ส่วนหนึ่งของวิธีการเรียนรู้ที่ทรงใช้
ก็คือ การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ซึ่งมีอยู่จ�านวนมากในกลุ่มหนังสือส่วนพระองค์ เมื่อทรง
สละราชสมบัติและประทับที่อังกฤษ ทรงอ่านหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับในตอนเช้าเพื่อติดตาม
ข่าวประเทศไทย
inside_KPI-museum-17pt.indd 83 9/11/2566 13:14:50