Page 82 - kpiebook67027
P. 82
81
พระราชนิยมด้านการดนตรี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดทั้งดนตรีไทยและสากล ในด้านดนตรีไทย
ทรงศึกษากับครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และ
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) โปรดทรงซออู้ ทรงตั้งวงดนตรีไทยในราชส�านัก โดยมี
ครูดนตรีไทยทั้ง 2 ท่านดังกล่าวเป็นครูฝึกสอนวงมโหรีหลวง มีนักดนตรีประกอบด้วยพระบรมวงศ์
และข้าราชการกรมมหรสพหลวง พระองค์ทรงร่วมบรรเลงซอด้วง และวงมโหรีหลวงฝ่ายใน
ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) จัดตั้งขึ้น นักดนตรีเป็นหญิงล้วน
ในด้านเพลงสากล ทรงไวโอลินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โปรดเพลงทั้งที่มีท�านองเบา
และหนัก ทรงนิยมฟังเพลงของคีตกวีที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น Mendelsohn Kreisler,
Dvorak, Haydn, Beethoven และ Brahms
เพลงพระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิม 3 เพลง คือ
เพลงราตรีประดับดาว (เถา) เขมรลออองค์ (เถา)
และคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น ทรงเป็นศิลปินดนตรี
ที่มีพระราชอัจฉริยภาพทั้งในด้านการพระราช
นิพนธ์ท�านอง และเนื้อร้อง จะเห็นได้จากเพลง
“ราตรีประดับดาว” มีความไพเราะทั้งท�านอง
และเนื้อร้องที่สละสลวย ถ่ายทอดจินตภาพ
ความงามของกุลสตรีได้อย่างประณีต
ส่วนพระราชอัจริยภาพในการถ่ายทอด
ส�าเนียงธรรมชาติในท�านองดนตรีไทยปรากฏ
ในเพลงพระราชนิพนธ์คลื่นกระทบฝั่งสามชั้น
ทรงเลียนแบบเสียงและลีลาของคลื่นกระทบฝั่ง
ตามกันเป็นระลอก มีผู้ให้ความเห็นว่าอาจจะ
ทรงน�าแบบอย่างการเลียนเสียงและลีลาของ
คลื่นในดนตรีมาจากเพลงสากล
inside_KPI-museum-17pt.indd 81 9/11/2566 13:14:50