Page 56 - kpiebook67027
P. 56

55





                            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการศึกษาสู่มวลประชาราษฎร์
                     โดยใช้ “วัด” เป็นสถานศึกษา ทรงตั้ง “โรงเรียน” เฉพาะสาขาอาชีพขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จ

                     พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนโดยรวมเฉพาะสาขาต่าง ๆ เป็น
                     “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ต่อมาโปรดเกล้าฯ

                     ให้ขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                     ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2459


                            ในยุคสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงและผู้ชาย
                     ได้รับความเสมอภาคทางการศึกษาให้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะแพทยศาสตร์

                     และศึกษาเล่าเรียนร่วมกัน โดยเปิดรับนิสิตหญิงเข้าเรียนเตรียมแพทย์เมื่อ พ.ศ. 2470 จ�านวน
                     7 คน พระองค์ทรงทุ่มเทและท�านุบ�ารุงการศึกษา โดยทรงยกระดับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                     สู่ระดับปริญญาตรีอย่างสมบูรณ์ คือ การประสาทปริญญาเวชชบัณฑิตชั้นตรี (แพทยศาสตรบัณฑิต)
                     เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2473 โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ พระราชทาน

                     ปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิตชั้นตรี จ�านวนทั้งสิ้น 29 คน ประกอบด้วยผู้สอบได้บัณฑิตชั้นตรี
                     ใน พ.ศ. 2471 จ�านวน 18 คน และพ.ศ. 2472 จ�านวน 11 คน ณ ห้องประชุมตึกบัญชาการ

                     (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ในปัจจุบัน)

                            พระองค์ทรงปฏิรูปมหาวิทยาลัยโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการด�าริรูปการแห่งจุฬาลงกรณ์

                     มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์และหาแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อตราเป็นพระราชบัญญัติ
                     มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ และการจัดโครงสร้างด้านการบริหารวิชาการ บุคลากร ความยั่งยืนของ

                     มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งได้น�าพระราชด�าริการปฏิรูปมหาวิทยาลัย “รายงานความเห็นเรื่องโครงการ
                     มหาวิทยาลัยของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์” มาร่วมพิจารณาด้วย

                     โดยนักปฏิรูปมหาวิทยาลัยร่วมรัชสมัย ประกอบด้วย

                            1.  สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงเป็นผู้น�าพระองค์แรก

                                ทรงเสนอแนวความคิดการปฏิรูปมหาวิทยาลัยบนรากฐานความเป็นอิสระเป็นการปฏิรูป
                                มหาวิทยาลัยสู่ “มหาวิทยาลัยในก�ากับรัฐบาล” ในปัจจุบัน


                            2.  พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะกรรมการด�าริรูปการ
                                แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


                            3.  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ








         inside_KPI-museum-17pt.indd   55                                                              9/11/2566   13:14:42
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61