Page 136 - kpiebook67021
P. 136
เรื่องเด่นอยากเล่า 7
People’s Audit Outcome & Impact
เพื่อทำการปรับเกลี่ยดินบนคันดินกั้นฝายร่องนาคำ ร่วมกับ เครือข่าย
ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และประชาชนจิตอาสาจำนวน 35 คน เมื่อ
พร้อมเพรียงกันแล้ว ได้ทำการเกลี่ยดิน 2 รูปแบบ คือ การเกลี่ยหรือปรับ
ผิวดิน ตรงจุดที่มีปัญหาเช่นเป็นหลุมหรือบริเวณที่ขรุขระเล็กน้อยด้วย
จอบ ตลอดแนวของสันคันดิน โดยประชาชนจิตอาสาที่มาร่วมโครงการ
2. การเกลี่ยหรือปรับดินตรงจุดที่เป็นจอมปลวกขนาดใหญ่ เป็นหลุมขนาด
ใหญ่ ตลอดแนวของสันคันดิน ด้วยรถไถขนาดใหญ่ ผลลัพธ์ที่ได้จากการ
ปรับเกลี่ยดินบนคันดินกั้นฝาย จากการรวมพลังปรับเกลี่ยดินของ
ประชาชนบ้านใหม่สถานี ในครั้งนี้ ทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. หลุมขนาดเล็ก หลุมขนาดใหญ่ ถูกนำดินมาปรับถม
ให้ราบเรียบเสมอกัน 2. จอมปลวกขนาดเล็กขนาดใหญ่ ถูกรถไถ พังทลาย
นำดินมาถมรอยยุบ หรือหลุมบนทางเดินให้ดินราบเสมอกัน 3. ถนนบน
คันกินกั้นฝายมีระดับเสมอกัน คนและยานพาหนะทุกชนิดสามารถสัญจร
ผ่าน และหลบหลีกกันได้โดยสะดวก 4. เป็นเส้นทางลัดของเกษตรกรซึ่งมี
ที่ทำกินอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฝายร่องนาคำ 5. ประชาชน
จิตอาสาใช้จอบขุดดินถมตามหลุมตามบ่อขนาดไม่ใหญ่อย่างมีความสุข
การถอดบทเรียน: ผู้ร่วมถอดบทเรียนจำนวนมากบอกว่า ไม่เคยคิดเลยว่า
จะมีหน่วยงานภายนอก อย่างเช่น สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบัน
พระปกเกล้า มาสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมดี ๆ แบบนี้
ทุกกิจกรรมที่ทำในโครงการฯ นี้ ประชาชนที่มาทุกคน มีส่วนร่วมเกิดขึ้น
อย่างเป็นรูปธรรม ได้ร่วมคิดแล้ว ได้ร่วมทำแล้ว และจะร่วมรับประโยชน์
ด้วยกัน ถือว่าเป็นการทำงานอย่างมีความสุข มีความพึงพอใจมากกับทุก
กิจกรรมที่ท่านมาชวนชาวบ้านทำ อยากขอให้ทำสิ่งดี ๆ เช่นนี้ร่วมกันไป
หลาย ๆ ปี ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ดังนี้ 1) อยากให้องค์การบริหารส่วนตำบล
สว่างนำโครงการขุดลอกฝายร่องนาคำ บรรจุในแผนพัฒนาตำบล 2)
อยากให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านใหม่
134 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า