Page 92 - kpiebook67015
P. 92

85


             ภาคประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ จากการทำแผนสุขภาพในระดับตำบลพบว่า จากจำนวน
             ประชากรทั้งหมดของตำบลเมืองเก่าพัฒนา จำนวน 6,037 คน ประชาชนส่วนใหญ่ป่วยเป็น

             โรคเบาหวาน จำนวน 365 คน คิดเป็นร้อยละ 6.05 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
             โรคความดัน จำนวน 730 คน คิดเป็นร้อยละ 12.09 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
             โรคจิตเวช จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โรคซึมเศร้า
             จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โรคหัวใจ จำนวน 19 คน

             คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และโรคอ้วน จำนวน 526 คน คิดเป็น
             ร้อยละ 8.71 ของจำนวนประชากรทั้งหมด จากปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
             ตำบลเมืองเก่าพัฒนา อบต.เมืองเก่าพัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวทีประชุมภาคีเครือข่าย
             ในเรื่องของการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนทุกเพศ

             ทุกวัย ทั้งกลุ่มที่มีโรคประจำตัวและกลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว ได้หันมาใส่ใจในเรื่องการดูแล
             สุขภาพของตนเอง จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนตำบล
             เมืองเก่าพัฒนาขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเป็นประจำ และ
             เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของตัวเองในเบื้องต้นด้วย โดยร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ

             ตำบลเมืองเก่าพัฒนาได้สนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากรในการจัดทำโครงการ/กิจกรรม
             การออกกำลังกาย เช่น โครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ โครงการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ
             โครงการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ โครงการเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การอบรม
             ผู้นำการออกกำลังกาย และส่งเสริมการเล่นกีฬาทุกประเภท และให้ประชาชนเข้ามามี

             ส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมเป็นคณะทำงาน ร่วมบริหาร ร่วมทำ
             ตามแผน ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมเสนอแนะปรับปรุงให้ดีขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชน
             แสดงความเห็น มีการคัดเลือกคณะกรรมการ โดยการแต่งตั้งและคัดเลือกคณะทำงาน คือ
             กลุ่มชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา อบต., อาสาสมัคร

             สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), คณะกรรมการหมู่บ้าน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบล
             เมืองเก่าพัฒนาเป็นที่ปรึกษา และมีเครือข่ายชมรมแอโรบิคครบทุกหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน
             สามารถเป็นผู้นำเต้นได้  สามารถผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นผู้นำเต้นได้ และเครือข่าย
             สามารถลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมในแต่ละหมู่บ้าน โดยทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโครงการ

             ร่วมกัน จากผลการทำงานที่ต่อเนื่องและท้าทาย ช่วยให้ประชาชนได้หันมาออกกำลังกาย
             เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น
             ด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรวมกลุ่มเต้นแอโรบิค มีการออกกำลัง
             กายในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดการป่วยจากโรคอ้วน โรคความดันโลหิต

             โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และโรคอื่น ๆ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นมีสุขภาพที่ดี


                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97