Page 90 - kpiebook67015
P. 90

8


             โครงการบริหารจัดการวัสดุรีไซเคิลและเงินออมในสถาบันการเงินอย่างยั่งยืน

                   โครงการบริหารจัดการวัสดุรีไซเคิลเกิดจากการที่ปริมาณขยะของ อบต.มีจำนวนมาก
             ซึ่งริเริ่ม โดย อบต. มีการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้

             มีการบริหารจัดการวัสดุรีไซเคิลอย่างยั่งยืน คือการจัดเก็บวัสดุรีไซเคิลให้ได้ทุกครัวเรือน
             การจัดการวัสดุรีไซเคิล การจัดการสถาบันการเงิน (ธนาคารขยะหมู่บ้าน) มีเงินออม และ
             มีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกจัดการวัสดุรีไซเคิล จำนวน 1,037 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 76.70
             ทำให้เกิดการคัดแยกมูลฝอย และใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล โดยโครงการนี้มี

             การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบและร่วมดำเนินกิจกรรมผ่านช่องทางการสื่อสาร
             ต่าง ๆ เช่น ทาง www.mkpat.go.th. ทาง Facebook เพจองค์การบริหารส่วนตำบล
             เมืองเก่าพัฒนา, บอร์ดประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวเสียงตามสาย
             ครอบคลุม 10 หมู่บ้าน, กลุ่มไลน์ อบต., กลุ่มไลน์กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เพื่อรับฟัง

             ความคิดเห็นปัญหาของการจัดการมูลฝอย แล้วมีการนำเสนอโครงการเกี่ยวกับการแก้ไข
             ปัญหาการจัดการมูลฝอย การประชุมประชาคมองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่าพัฒนา
             เพื่อทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น

                   โครงการบริหารจัดการวัสดุรีไซเคิลและเงินออมในสถาบันการเงินอย่างยั่งยืน มีการ

             ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับ คณะกรรมการธนาคารขยะ 10 หมู่บ้าน
             และเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ( อถล.) มีการทำงานร่วมกันในการบริหารจัดการ
             มูลฝอยแบบบูรณาการเช่นการประชุมร่วมกัน จัดนิทรรศการแสดงผลงานและทบทวน
             ทำแผนยุทธศาสตร์ โดยเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ มีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยง

             ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ
             การบริหารจัดการมูลฝอยในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
             รวมทั้งนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายเพื่อการปฏิบัติ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร
             สถาบันการออมเงิน (ธนาคารขยะหมู่บ้าน) โดยประชาชนมีการแต่งตั้งและคัดเลือก

             คณะทำงานคือผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้จัดการธนาคารขยะหมู่บ้านโดยตำแหน่ง, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน,
             สมาชิกสภา อบต. ประจำหมู่บ้าน, อสม., กรรมการหมู่บ้าน และประชาชนที่เป็นสมาชิก
             กลุ่มคัดแยกวัสดุรีไซเคิล มีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน การออก
             กฎระเบียบ การจัดทำบันทึกข้อตกลงในการออมเงิน การจ่ายเงิน รวมถึงสมาชิกคัดแยกวัสดุ

             รีไซเคิล มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา จัดการวัสดุรีไซเคิล และการประสานงานต่าง ๆ
             เหมือนกับเป็นเจ้าของด้วยตนเอง  มีกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ธนาคารขยะรีไซเคิลระดับ
             หมู่บ้านและระดับตำบล มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือผู้เสียชีวิตที่เป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจ



                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95