Page 138 - kpiebook67015
P. 138
1 1
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
แบบการมีส่วนร่วม
พื้นที่เทศบาลเมืองบ้านไผ่ตั้งอยู่บริเวณแอ่งโคราช มีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก เอียงลาด
จากบริเวณเทือกเขาและที่สูงทางทิศตะวันตกและด้านทิศใต้ พื้นที่ตรงกลางเป็นแอ่งต่ำระบาย
น้ำไม่ดี เป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเปือยน้อย และอำเภอโนนศิลา มีลำห้วยจิกไหลผ่าน
เมืองบ้านไผ่ มักจะเกิดปัญหาอุทกภัยทุกปีในช่วงฤดูฝน ในปี พ.ศ. 2562 เกิดมหาอุทกภัย
จากพายุโพดุลส่งผลให้มีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม เฉพาะ
ในเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่ มีผู้ประสบภัย จำนวน 24 ชุมชน ประชากรได้ความเสียหาย
1,571 ครัวเรือน มีผู้ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 5,920 คน มีหน่วยงานราชการ จำนวน
4 แห่ง วัด จำนวน 3 แห่ง บริษัทห้างร้านเอกชนหลายแห่งได้รับความเสียหาย และมี
ผู้เสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช็อต จำนวน 1 คน จากการสูญเสียดังกล่าวนับว่าไม่สามารถ
ประเมินค่าความเสียหายได้ งบประมาณที่ใช้ในการเยียวยาผู้ประสบภัย และการซ่อมแซม
ที่อยู่อาศัยจำนวน 25,151,881 บาท
จากสภาพปัญหาดังกล่าวเทศบาลเมืองบ้านไผ่ จึงจำเป็นที่จะสร้างเครื่องมือป้องกันและ
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ประกอบกับ
มีข้อจำกัด ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ การบริหาร
จัดการ ยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควรส่งผลให้ต้องแสวงหาเครือข่าย เพื่อเป็นเครื่องมือ หรือ
วิธีการทำงานที่มีประโยชน์โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ซึ่งได้
ขับเคลื่อนจัดทำโครงการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยเริ่มต้นได้ประสานศูนย์วิจัย
สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับมหาวิทยาลัย
ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เข้ามาสำรวจปัญหา
ความต้องการร่วมกับชุมชน 39 ชุมชน มีการประชาคมรับฟังความเดือนร้อนแนวทาง
การปัญหาร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จนได้ข้อสรุปร่วมกัน
ในการสร้างเครืองมือป้องกันน้ำท่วม ได้แก่ ไม้วัดระดับน้ำ เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน แผนที่
เสี่ยงภัยน้ำท่วม และเครื่องมือเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ และการแก้ไขปัญหาระยะยาว คือ
ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนบ้านไผ่ และขุดลอกลำห้วยจิก ต่อมาเทศบาลเมือง
บ้านไผ่จึงประสานขอรับการสนับสนุนติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เขตเทศบาล ติดตั้ง
ไม้วัดระดับน้ำ กล้อง CCTV จากภาคีเครือข่าย และจัดให้มีกระบวนการทำแผนที่เสี่ยงภัย
น้ำท่วม และการสร้างเครื่องมือเตือนภัยน้ำท่วม แบบ Real Time แจ้งเตือนผ่านแอฟพลิเคชั่น
รางวัลพระปกเกล้า’ 66