Page 106 - kpiebook67015
P. 106
ผลลัพธ์ของโครงการที่เกิดขึ้น พบว่าในเชิงปริมาณศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
ตำบลบ้านกุ่ม ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี จากกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาตำบล อสม. รพ.สต.บ้านกุ่ม สถานศึกษาและผู้นำศาสนา
ในการเสนอรายชื่อผู้ที่สมควรได้รับการช่วยเหลือ โดยมีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
มาจากทุกภาคส่วนร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติตามระเบียบของกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประชาชนตำบลบ้านกุ่ม คิดเป็นจำนวนร้อยละ 100 เทียบกับผู้ที่คณะกรรมการแจ้งรายชื่อ
ประเมิน รวมถึงผลประเมินความพึงพอใจในขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้สูงอายุที่ได้รับบริการ
คิดเป็นจำนวนร้อยละ 100 และในเชิงคุณภาพ พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกุ่ม
ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุ่ม สามารถคัดกรองกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ
ผู้สูงอายุ และความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคม ได้อย่างครอบคลุม
และทั่วถึง ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลบ้านกุ่มเป็นไปอย่างโปร่งใสและยั่งยืน
สอดคล้องกับแนวทางการบริหารงานที่ยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ร่วมรับรู้
ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมกันพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน
อีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นของทั้งโครงการตั้งต้น “โครงการพลเมืองยุคใหม่ ชุมชน
ไร้ถัง (บ้านกุ่มบ้านเรา)” และโครงการที่ต่อยอดมาอย่างเป็นรูปธรรม “โครงการ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลบ้านกุ่ม” ทั้งสองโครงการสามารถเป็นต้นแบบให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นได้เข้ามาศึกษาดูงานเรียนรู้การดำเนินงานและนำกลับไปพัฒนา
ต่อยอดพื้นที่ของตนได้ต่อไป เช่น เทศบาลตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัด
นครปฐม, เทศบาลตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี, เทศบาลตำบลแก่งเสือเต้น
อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี, องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จังหวัด
ปทุมธานี, องค์การบริหารส่วนตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
รางวัลพระปกเกล้า’ 66