Page 102 - kpiebook67015
P. 102
5
คนในชุมชน องค์กรภาครัฐ และสถาบันการศึกษา อันก่อให้เกิดนวัตกรรมโครงการเพื่อเข้ามา
แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นก่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตและแนวคิดในการการคัดแยกขยะของคนในชุมชนตำบล
บ้านกุ่ม อันนำไปสู่การดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ คือ ตำบลบ้านกุ่มเป็นชุมชนไร้ถัง
(จากการเก็บข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง) พบว่า เขตพื้นที่ตำบลบ้านกุ่ม มีถังขยะขนาด 120 ลิตร
ลดลงจากปี 2564 มากกว่า 200 ถัง มีถังขยะขนาด 200 ลิตร ลดลงจากปี 2564 กว่า
30 ถัง และปริมาณขยะที่ลดลงกว่า 100 ตัน
และที่สำคัญยังก่อให้เกิด “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลบ้านกุ่ม” ที่มี
การนำเงินจากการจำหน่ายวัสดุรีไซเคิลในเขตพื้นที่ตำบลบ้านกุ่ม นำมาเป็นงบประมาณ
กองทุนในการจัดหาอุปกรณ์ในการดำรงชีพสำคัญจำเป็น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในพื้นที่
ให้ได้รับการพัฒนาและช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากนั้นยังมีการต่อยอดนำเงิน
ที่ได้ไปทำแปลงผักสวนครัว เพื่อที่จะคืนกำไรสู่ชุมชนโดยการปลูกผักปลอดสารพิษให้
ประชาชนที่มาใช้บริการ หรือมามอบวัสดุรีไซเคิลสามารถเก็บผักกลับไปรับประทานได้ฟรี
นับได้ว่าโครงการพลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง (บ้านกุ่มบ้านเรา) สามารถสร้างการมี
ส่วนร่วมพร้อมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ควบคู่กันไป ผ่านการดำเนินงานที่มุ่งเน้นให้
ประชาชนผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้เข้ามาสามารถนำเสนอความคิดเห็น
ได้อย่างอิสระในช่องทางที่หลากหลาย และที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการดังกล่าว
ก่อให้เกิด “กองทุนโครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลบ้านกุ่ม” อย่างเป็น
รูปธรรมอีกด้วย
รางวัลพระปกเกล้า’ 66