Page 43 - kpiebook66033
P. 43
ชื่อทีมเยาวชน : LakeATECH
ชื่อโครงการ : การพัฒนาลูกระนาด
เพื่อลดอุบัติเหตุและสร้างพลังงานไฟฟ้า
ชื่อโรงเรียน : ธรรมวิทยามูลนิธิ
762 ถนนสิโรรส ตำาบลสะเตง อำาเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนับสนุนการดำาเนินงาน
เทศบาลนครยะลา
10 ถนนสุขยางค์ ตำาบลสะเตง อำาเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
ที่มาของโครงการ/เหตุผลและความจำาเป็นในการริเริ่มโครงการ
ชุมชนดารุสสาลาม เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ซึ่งเป็นเขตเฝ้าระวังความปลอดภัยมีการตั้งด่านตรวจจึงมีการใช้ลูกระนาดเพื่อให้
มีการชะลอความเร็ว โดยภายในชุมชนดารุสสาลามมีลูกระนาดมากกว่า 20 ลูก แม้ลูกระนาด
มีไว้เพื่อช่วยชะลอความเร็วของรถบนท้องถนน แต่หากกระบวนการสร้างลูกระนาดใช้วัสดุ
ที่ไม่เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ลูกระนาดที่พบเห็นโดยทั่วไป มีการใช้วัสดุที่แข็ง ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่ดูดซับแรงกระแทก
และมีสีที่กลมกลืนกับท้องถนน อีกทั้งยังมีความสูงเกินกว่ามาตรฐาน และติดตั้งในบริเวณ
ที่อับสายตา จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ ปี 2566 (ข้อมูลสะสม 7 วัน) มีอุบัติเหตุ
รถจักรยานยนต์ 25 ครั้ง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จำานวน 29 คน ซึ่งบุคคล
เหล่านี้จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลมากกว่า 2,000 บาทต่อครั้ง ค่าซ่อมบำารุงยานพาหนะ
ไม่ต่ำากว่า 500 บาท ค่าดำาเนินการต่างๆ เช่น ค่าเดินทางของญาติผู้ประสบอุบัติเหตุ ค่าดำาเนินการ
ทางกฎหมาย หรือค่าซ่อมบำารุงคู่กรณี ทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหายต่องานหรือหน้าที่
ที่ได้รับมอบหมาย มูลค่าความเสียหายทั้งหมดคิดโดยเฉลี่ยมากกว่า 5,000 บาทต่อคน
ทางคณะผู้จัดทำาจึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหานี้โดยสร้างลูกระนาดที่ทำาจากยาง
เพื่อช่วยดูดซับแรงกระแทก และมีสีที่ตัดกับพื้นถนน โดยใช้สีที่สามารถเรืองแสงได้ในเวลา
กลางคืนเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นอีกทั้งยังสามารถผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซ็นเซอร์
เพียโซอิเล็กทริคในการเปลี่ยนจากพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วจึงนำาพลังงานไฟฟ้า
ที่ได้ไปใช้กับป้ายระวังเขตโรงเรียน
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อสร้างลูกระนาดที่สามารถลดอุบัติเหตุให้ผู้สัญจรไปมา
KPI NEW GEN 41
สร ้ างสรรค์นวัตกรรมท ้ องถิ่นปี 2566