Page 306 - kpiebook66032
P. 306

และด้านการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในสังคม จากเป้าหมายดังกล่าวเทศบาลตำบลศรีเตี้ย

           จึงพัฒนาเมืองและสังคมให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุใน 8 ด้านมาโดยตลอด ได้แก่ 1) ด้านอาคาร
           สถานที่และบริเวณภายนอก 2) ด้านระบบขนส่งและยานพาหนะ 3) ด้านที่อยู่อาศัย
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   8) ด้านการบริการชุมชนและการบริการสุขภาพ ทั้งนี้การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนเป็น
           4) ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 5) ด้านการให้ความเคารพและการยอมรับ 6) ด้านการมี
           ส่วนร่วมในฐานะพลเมืองและการจ้างงาน 7) ด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ และ



           อีกหนึ่งกิจกรรมการดำเนินงานที่ทำให้การบริการชุมชนและการบริการสุขภาพมีความสมบูรณ์
           ครอบคลุมในทุกมิติมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงหรือ

           การป้องกันโรค ได้ขยายขอบเขตมาสู่การบำบัดฟื้นฟูจากการเจ็บป่วย กล่าวได้ว่าเป็นการก้าวล้ำ
           การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างแท้จริง


                 ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดำเนินงานให้แก่องค์กร
           ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งทั่วประเทศ โดยเป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งศึกษาดูงานด้าน
           การให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถแลกเปลี่ยน

           ประสบการณ์ในการปฏิบัติภารกิจด้านสาธารณสุขและการพัฒคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุร่วมกัน
           ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

           ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้เทศบาลตำบลศรีเตี้ยมีแนวคิดขยาย
           ผลการดำเนินงานของศูนย์โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งอื่น
           ในการส่งต่อผู้สูงอายุที่ต้องการรับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายมายังศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ

           ชุมชน  ความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนของเทศบาลตำบลศรีเตี้ย

     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   เกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยความสำเร็จภายในเทศบาลที่สำคัญ 2 ประการ คือ




                 ภูมิลำเนาและความมุ่งมั่นตั้งใจของนักกายภาพบำบัด ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน
           มีนักกายภาพบำบัดเพียง 1 อัตรา เป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลตำบลศรีเตี้ย จึงมีความรัก

           ความผูกพันในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับคนในชุมชนท้องถิ่นในลักษณะ
           เครือญาติ ดังนั้นจึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ

           ชุมชนอย่างเต็มที่ เพราะเห็นว่าการดำเนินงานของศูนย์เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบ้านเกิดเมือง
           นอนของตนให้ดีขึ้น โดยเสริมสร้างให้ตำบลศรีเตี้ยกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
           ได้สมบูรณ์มากขึ้น ประกอบกับช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เปรียบเสมือนเครือญาติ

           กันให้ดีขึ้น ที่สำคัญด้วยความที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลศรีเตี้ยจึงปักหลักดำเนินงานที่ศูนย์ฟื้นฟู
           สมรรถภาพชุมชนระยะยาวโดยไม่มีแผนจะโอนย้าย ส่งผลให้การดำเนินงานของศูนย์มีความต่อเนื่อง




         00    สถาบันพระปกเกล้า
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311