Page 305 - kpiebook66032
P. 305

ส่วนที่ 4 เมืองเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ สังคมมีจิตสาธารณะ และเป็นแหล่งเรียนรู้


                     การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนประสบความสำเร็จ

               เป็นอย่างดี เพราะสามารถบำบัดฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้กลับมาประกอบกิจวัตรประจำวัน
               ได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่ 1 มีการบาดเจ็บของไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้อขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง

               เดินไม่ได้ จึงมารับการบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์เป็นระยะเวลา 2 ปี ปัจจุบันสามารถกลับไปใช้ชีวิต
               ประจำวันได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน คนที่ 2 มีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท
               ทำให้แขนและขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรงเดินไม่ได้ ต้องผ่าตัดกระดูกที่คอและต้องฟื้นฟูร่างกาย    ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               อย่างต่อเนื่อง จึงมารับการบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์เป็นระยะเวลา 8 เดือน ปัจจุบันสามารถกลับไปใช้
               ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และคนที่ 3 ประสบอุบัติเหตุศีรษะกระแทกพื้น ทำให้มีอาการ

               อ่อนแรง แขนและขาซีกขวาเดินไม่ได้ จึงมารับการบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์เป็นระยะเวลา 5 เดือน
               ปัจจุบันสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นต้น ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน
               ช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้พิการทุกกลุ่มเข้าถึงบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ลดความเหลื่อมล้ำ

               ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อย
               สามารถเข้าถึงบริการของศูนย์ได้เพราะไม่มีค่าบริการ สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการที่เดินทาง

               ไม่สะดวกก็มีรถรับ-ส่ง และศูนย์ยังเป็นทางเลือกเพิ่มเติมจากการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล
               เพราะโรงพยาบาลมักมีผู้ป่วยจำนวนมากทำให้ต้องรอคิวนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ขณะที่
               การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายตามหลักการแล้วควรทำเป็นประจำต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ

               3 ครั้ง

                     นอกจากกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือพิการได้รับประโยชน์
               โดยตรงจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนแล้ว การดำเนินงานของศูนย์ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทาง

               อ้อมต่อชุมชนและสังคมหลายประการ กล่าวคือ คนในชุมชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนได้รับ
               การปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะในการเข้ามาร่วมเป็นจิตอาสาหรืออาสาสมัครในการฟื้นฟู            ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               สมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุ โดยเด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น
               ในชุมชนที่เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
               ซึ่งมีแนวโน้มว่าจิตสำนึกสาธารณะที่เกิดขึ้นน่าจะขยายผลไปยังประเด็นปัญหาอื่น ๆ ในชุมชน

               ส่งผลให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นพลเมืองที่ดีของชุมชนต่อไป

                     นอกจากนี้การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนทำให้เทศบาลเมืองศรีเตี้ยสามารถสร้าง

               สังคมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป้าหมายของสังคมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุคือ
               เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างรอบด้าน ทั้งทางด้านสุขภาพ (กาย ใจ สังคม ปัญญา)

               ด้านการทำงาน ด้านความมั่นคงในชีวิต (เศรษฐกิจ ครอบครัว ชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม)




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310