Page 294 - kpiebook66032
P. 294
ส่วนที่ 2 สำรวจพบผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
ในปี พ.ศ. 2562 ตำบลศรีเตี้ยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมีผู้สูงอายุ จำนวน
1,558 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 27.9 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 ยังคง
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) สมาชิกในครอบครัวต่างออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ แม้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ทำเกษตรกรรมสวนลำไยและสวนมะม่วง เพราะเป็นแหล่งรายได้หลักของครอบครัว ขณะที่
สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันและมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต แต่มักมี
ภาวะซึมเศร้าจากการถูกทอดทิ้งให้ทำงานหรืออยู่เพียงลำพัง นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีผู้สูงอายุ
กลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่มีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และผู้ที่มี
ที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการจุดประกายให้เทศบาลตำบลศรีเตี้ยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุ เทศบาลได้ประสานหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่
ให้มาร่วมเป็นเครือข่ายในการดำเนินงาน ส่งผลให้เทศบาลตำบลศรีเตี้ยมีเครือข่ายในการพัฒนา
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากกว่า 20 เครือข่าย อาทิ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลศรีเตี้ย (องค์กร
สาธารณประโยชน์), ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลศรีเตี้ย,
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน, ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ
สังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์จังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
จังหวัดเชียงใหม่, กองทุนผู้สูงอายุ, กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ,
ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดลำพูน, กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม, โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพชุมชน, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอบ้านโฮ่ง,
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น สภาเด็กและเยาวชนตำบลศรีเตี้ย (องค์กรสาธารณประโยชน์), โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา และ
สปสช. ตำบลศรีเตี้ย, ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลศรีเตี้ย (องค์กรสาธารณประโยชน์),
อาสาสมัครชุดต่าง ๆ
ทั้งนี้ เทศบาลตำบลศรีเตี้ยและเครือข่ายมุ่งพัฒนาตำบลศรีเตี้ยให้เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับ
ผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างรอบด้าน ทั้งทางด้านสุขภาพ (กาย ใจ สังคม
ปัญญา) ด้านการทำงาน ด้านความมั่นคงในชีวิต (เศรษฐกิจ ครอบครัว ชีวิตและทรัพย์สิน
สิ่งแวดล้อม) และด้านการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในสังคม จากเป้าหมายดังกล่าวจึงก่อให้เกิด
การพัฒนาเมืองและสังคมให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุใน 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาคารสถานที่และ
บริเวณภายนอก 2) ด้านระบบขนส่งและยานพาหนะ 3) ด้านที่อยู่อาศัย 4) ด้านการเข้าร่วม
กิจกรรมทางสังคม 5) ด้านการให้ความเคารพและการยอมรับ 6) ด้านการมีส่วนร่วมในฐานะ
พลเมืองและการจ้างงาน 7) ด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ และ 8) ด้านการบริการ
2 สถาบันพระปกเกล้า