Page 293 - kpiebook66032
P. 293

ตารางที่ 4: รายได้ของเทศบาลตำบลศรีเตี้ย ปี พ.ศ. 2564


                                       รายได้                              จำนวน (บาท)

                รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง                                   529,421.78

                รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้                                  18,678,775.17

                รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้                                           -

                เงินอุดหนุน                                                30,497,116.49             ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
                รวม                                                        49,705,313.44

               ที่มา: เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์


                     เทศบาลตำบลศรีเตี้ยมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยให้ประชาชนร่วมคิด
               ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือทำ และร่วมรับผลประโยชน์เพื่อให้เทศบาลตำบลศรีเตี้ย

               สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง การมีส่วนร่วม
               ของประชาชนสะท้อนได้จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
               นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2564 มากถึงร้อยละ 83.91


               ตารางที่ 5: จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลศรีเตี้ย
               ปี พ.ศ. 2564


                           ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง            จำนวน                  ร้อยละ

                ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง                     3,929                 83.91

                ผู้ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง                   753                  16.08
                รวม                                        4,682                 100.00               ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               ที่มา: เทศบาลตำบลศรีเตี้ย. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). [ออนไลน์] https://www.sritia.go.th/index สืบค้นเมื่อ
                   วันที่ 31 สิงหาคม 2566, หน้าที่ 3.


                     นอกจากนี้เทศบาลตำบลศรีเตี้ยได้เสริมสร้างเครือข่ายในการทำงานทั้งภาครัฐ เอกชน
               และประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ ระหว่างเครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน
               ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานร่วมกันโดยเฉพาะองค์ความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยี และได้

               แบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานและลดความซ้ำซ้อน
               ของภารกิจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเสริมสร้างเครือข่ายในการทำงาน

               ช่วยให้เทศบาลก้าวข้ามข้อจำกัดด้านขีดความสามารถและทรัพยากร ส่งผลให้สามารถพัฒนา
               และแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนได้ในที่สุด



                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298