Page 135 - kpiebook66032
P. 135
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้คนเลี้ยงสัตว์เหล่านั้นมีความ
รับผิดชอบ 136
ในส่วนนี้เราลองมาดูว่า แต่ละภาคส่วนได้มีบทบาทความร่วมมือกันอย่างไรบ้าง
1) เทศบาลเมืองกะทู้ – ผู้รับบทหลัก
เทศบาลเมืองกะทู้ได้มีบทบาทสำคัญในหลายเรื่อง กล่าวคือ เริ่มแรกสุดคือ
(1) การเสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติโครงการเพิ่มศักยภาพการควบคุมดูแลและ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ติดตามสุนัขและแมวในพื้นที่เทศบาลเมืองกะทู้ โดยมีการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ
ใน พ.ศ. 2564 จากนั้นสภาเทศบาลจะพิจารณาเห็นชอบ โดยโครงการนี้ก็ได้รับการจัดสรร
งบประมาณให้ดำเนินการมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
“สภาก็ดูเรื่องของงบประมาณ ที่ผ่านมามีการพูดคุยกัน สมาชิกสภา เราเอา
ปัญหาเรื่องสุนัข แมวมาพูดคุยว่าจะต้องแก้ไขปัญหา สมาชิกทุกคนก็เห็นด้วยว่า
เราจะแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้เรื่องสุนัขและแมวในเขตเทศบาลเมืองกระทู้ได้ลด
ปัญหาลง และก็มีการควบคุมได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็มีการตั้งงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาเพื่อที่จะดำเนินการ เรื่องนี้เป็นการร่วมมือ
กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของเทศบาล สมาชิกสภา ฝ่ายผู้บริหาร
ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ลงไปดำเนินการ” 137
(2) การลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อร่วมคิด
ร่วมวางแผน กำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
(3) การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำเครือข่ายลงพื้นที่ออกหน่วยบริการแก่ ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ประชาชน ซึ่งก่อนจะมีการลงพื้นที่หรือออกหน่วย จะมีการประชุมกับเครือข่ายเพื่อกำหนด
ความรับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว โดยใช้ระบบ Rabies One
Data และ QR Code มาเป็นตัวช่วยในการลงทะเบียนสุนัข-แมว จากนั้นทำการประชาสัมพันธ์
136 ศรันยู ภักดีวงศ์, “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี”,
(การศึกษาอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สำหรับนักบริหาร, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, 2560).
137 Personal communication, 9 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า 12