Page 52 - kpiebook66029
P. 52

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
          บทที่ 4  ผลการศึกษา



               การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่: คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชนนี้
          มีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
          ต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพสังคมตามทัศนะของเยาวชน เพื่อนำาเสนอแนวทางในการ
          พัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย สามารถสรุปผลการศึกษา โดยแบ่งเป็น
          หัวข้อต่าง ๆ ได้ ดังนี้



          4.1   ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ
               (1) เพศ: ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.7) รองลงมา คือ เพศชาย

          (ร้อยละ 35.3) และ LGBT (ร้อยละ 8.1)
               (2) อายุ: อายุเฉลี่ยของผู้ตอบ เท่ากับ 15.17 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่
          15 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 61.3) และ อายุน้อยกว่า 15 ปี (ร้อยละ 38.7)
               (3) การนับถือศาสนา: ผู้ตอบส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 90.5) รองลงมา
          คือ นับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 6.3) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 2.1) นับถือศาสนาคริสต์
          (ร้อยละ 0.7) และ อื่น ๆ (ร้อยละ 0.4)
               (4) ที่พักอาศัย: ผู้ตอบส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่นอกเขตอำาเภอเมือง (ร้อยละ 59.4) และ

          พักอาศัยในเขตอำาเภอเมือง (ร้อยละ 40.6)
               (5) ที่ตั้งของโรงเรียน: ผู้ตอบส่วนใหญ่ศึกษาในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอเมือง
          (ร้อยละ 59.7) และ นอกเขตอำาเภอเมือง (ร้อยละ 40.3)



          4.2   ผลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic
               Security)
               ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นวิเคราะห์ถึงการตอบสนองซึ่งความต้องการ
          พื้นฐานที่จำาเป็นในแต่ละวันของเยาวชน โดยเป็นความจำาเป็นขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและ
          สังคมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

               4.2.1  ความพึงพอใจในชีวิตปัจจุบัน
               จากการสอบถามเยาวชนเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิตปัจจุบันเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
          การศึกษา ความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัย ชีวิตครอบครัว สุขภาพ การยอมรับทางสังคม และ

           4-1
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57