Page 96 - kpiebook65063
P. 96
ให้ผู้ป่วย รวมช่วยให้ผู้ป่วยสามารถการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางสังคม (social
facilitation) ส่งผลต่อความสำเร็จในการปรับปรุงพฤติกรรมสุขภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของ
ผู้ป่วยและสมาชิกทุกคนในครอบครัว เพื่อช่วยในการชะลอการเสื่อมของไต ส่งเสริมให้ผู้ป่วย
มีการจัดการตนเองที่เหมาะสมร่วมกับเจ้าหน้าที่สุขภาพ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ
สนับสนุนและติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยให้บรรลุเป้าหมายนโยบายการดูแลสุขภาพประชาชน
ให้ครอบคลุม 3 มิติ
มิติที่ 1 ด้านปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน : มีการสนับสนุนความรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
โดยทีมผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นสหสาขาวิชาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การดูแล
ตนเอง โดยอายุรแพทย์โรคไต ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต โดยเภสัชกร ให้ความรู้
เกี่ยวกับโภชนาบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไต โดยนักโภชนาการ ให้ความรู้และวิธีปฏิบัติเรื่อง
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไต โดยนักกายภาพบำบัดและการแพทย์แผนไทยสำหรับ
ผู้ป่วยโรคไต
มิติที่ 2 ด้านทักษะและความสามารถในการกำกับตนเอง (Self-regulation) :
มีการนัดหมาย ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบประเมิน
ความรู้และพฤติกรรมเป็นเครื่องมือให้เกิดกระบวนการสะท้อนคิด ถึงปัญหาและอุปสรรค
ของตนเองที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมได้ เพื่อช่วยให้ทักษะ
การจัดการตนเองของผู้เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จ
มิติที่ 3 ด้านผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการตนเองที่มีประสิทธิภาพ :
- ผลลัพธ์ที่คาดหวังระยะสั้น : การเปลี่ยนแปลงค่าการกรองของไต (eGFR) สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงระยะของโรคไตเรื้อรังที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้เกิดทักษะการ
จัดการตนเองและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างถาวร ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
- ผลลัพธ์ระยะยาว ผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถชะลอการเสื่อมของ
ไต ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ลดความ
เหลื่อมล้ำทางสังคม ลดภาระค่าใช้จ่ายในระดับครัวเรือนและในระดับประเทศ กรณีที่
ต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตได้เป็นจำนวนมหาศาล
โดยเทศบาลนครนนทบุรีเริ่มดำเนินโครงการในกลุ่มศึกษาเขตตำบลท่าทรายเริ่มจาก
อาคารชุดนิติบุคคลเอื้ออาทร ซี่งมีให้ อสม. หรืออาสาสาธารณสุขภาคประชาชนในพื้นที่
โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในชุมชนได้รับผ่านเสียงตามสาย แผ่นพับ
สื่อประชาสัมพันธ์ โดยมีเครือข่าย อสม. เป็นผู้เข้าถึงภาคประชาชนและชุมชน
สถาบันพระปกเกล้า