Page 91 - kpiebook65063
P. 91
ตารางแสดงข้อมูลทางประชากรในเขตเทศบาลนครนนทบุรี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2557 - 2564
จำนวนบ้าน
พ.ศ. ประชากรหญิง ประชากรชาย ประชากรรวม (หลังคาเรือน)
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 2563 117,718 133,308 255,671 157,944
116,761
132,527
158,064
2564
249,288
251,026
2562
254,375
153,398
134,783
119,592
2561
134,636
152,489
254,950
120,314
134,900
120,771
2560
148,376
144,124
255,793
134,845
120,948
2559
2558
121,969
134,991
141,349
256,960
121,737
256,190
129,582
134,453
2557
ที่มา: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน, ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้น
จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564.
แม้จำนวนประชากรจะไม่สูงขึ้นทุกปีแต่จำนวนบ้านครัวเรือนมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี
แสดงให้เห็นว่าพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรีมีจำนวนประชากรแฝงหรือประชาชนที่ชื่อไม่ได้อยู่ใน
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ทะเบียนราษฎร์ของเทศบาลนครนนทบุรี ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีเพิ่มขึ้น
ทุกปี
จากสถานการณ์ดังกล่าวได้ทำให้เทศบาลนครนนทบุรีประสบปัญหาจากการขยายตัวของ
เมืองเป็นอย่างมาก เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะทางน้ำทางอากาศ
ปัญหาขยะ ปัญหาอาชญากรรม รวมถึงปัญหาการรุกล้ำที่สาธารณะ ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่แนวคิด
การบริหารงานของเทศบาลนครนนทบุรีที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนทุกกลุ่มทุกระดับและตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งด้านการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสาธารณสุข
ชุมชน รวมถึงการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบประชารัฐ ภายใต้วิสัยทัศน์ของเทศบาล
นครนนทบุรีที่ว่า “นครนนท์เมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบริการที่เป็นเลิศ และ
บริหารจัดการที่ดี”
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง นับเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของ
การพัฒนาเมืองน่าอยู่ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรีได้เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้โครงสร้างทางประชากรของพื้นที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
เพิ่มขึ้นทุกปี จนมากถึง 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
0 สถาบันพระปกเกล้า