Page 6 - kpiebook65063
P. 6
คำนำ ผู้เขียน
หนังสือเล่มนี้เป็นผลการศึกษาวิจัยของ “โครงการวิจัยการบริหารงาน
และการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปี พ.ศ. 2565” ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดจากการมอบรางวัลพระปกเกล้าให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2564 ในปีดังกล่าววิทยาลัยพัฒนา
การปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้า
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 36 แห่ง วิทยาลัยจึงทำการศึกษาวิจัย
เพื่อถอดบทเรียนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มนี้ เพราะถือเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) ตามหลัก
ธรรมาภิบาล ตลอดจนมีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์
ต่อชุมชนท้องถิ่น
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่หนึ่ง:
บทนำ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบถึงที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขต
การศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่าง วิธีการศึกษาวิจัย และประโยชน์จากการศึกษาวิจัย
ครั้งนี้ ส่วนที่สอง: สถานการณ์การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เนื้อหาส่วนนี้จะฉายภาพให้เห็นถึงประสิทธิภาพการจัดบริการ
สาธารณะ ความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณะ การมีส่วนร่วมของประชาชน
ความโปร่งใสในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความเชื่อมั่นของประชาชน
ที่มีต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทบทวนถึงผลการดำเนินงานของตนเองและทราบถึง
สถานการณ์การจัดบริการสาธารณะ ส่วนที่สาม: ภารกิจที่ท้าทายของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19 เนื้อหาส่วนนี้จะนำเสนอภารกิจ
สี่ด้านที่เป็นภารกิจสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด-19
และเป็นภารกิจที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายหลัง
วิกฤตโควิด-19 เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญ
ของภารกิจดังกล่าวให้มากขึ้นภายใต้ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งภารกิจทั้งสี่ด้าน ได้แก่
สถาบันพระปกเกล้า V