Page 376 - kpiebook65063
P. 376
จำนวนมากในการผลิตขนมส่งตามร้านในเขตเมือง และเนื่องจากจังหวัดเพชรบุรีเป็น
จังหวัดท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ดังนั้น สินค้าที่ระลึกประเภทขนมจึงกลายเป็นสินค้าหลัก
อันหนึ่งในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาขยะ
ที่เกิดจากเปลือกไข่เป็ดที่เหลือทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก
ก่อนที่ประเทศไทยจะส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศไทย
การทำขนมเมืองเพชรบุรีเป็นการทำเพื่อบริโภคกันภายในครัวเรือน และจำหน่ายภายในพื้นที่
ซึ่งมิใช่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ดังนั้น ขยะที่เกิดขึ้นจากเปลือกไข่เป็ดจึงมีจำนวนน้อย ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
และสามารถกำจัดได้ทัน อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลไทยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2540 และกำหนดให้แต่ละพื้นที่มีสินค้าหลักของตนเองเพื่อนำเสนอนักท่องเที่ยวทั้งภายใน
ประเทศและจากต่างประเทศไทย ชาวบ้านในตำบลนาพันสามจึงดึงเอาศักยภาพของตนเอง
ที่โดดเด่นขึ้นมาตอบสนองนโยบายรัฐบาล จึงได้สร้างอัตลักษณ์ตำบลขนมหวานเมืองเพชรบุรี
ขึ้นมา เป็นเหตุให้การผลิตขนมหวานที่จากเดิมมีจำนวนประมาณ 5 -10 ครัวเรือน กลายเป็น
47 ครัวเรือนใน ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งทำให้ความต้องการใช้ไข่เป็ดมาเป็นส่วนผสมของขนมหวาน
เพิ่มขึ้นจากวันละ 100 - 200 ฟอง เป็นวันละ 15,000 ฟอง ส่งผลต่อทำให้เกิดขยะจากเปลือก
ไข่เป็ดเพิ่มขึ้นจำนวนมากจนกำจัดไม่ทัน
ปัญหาขยะจากเปลือกไข่เป็ดในตำบลนาพันสาม เป็นปัญหาสะสมมายาวนานกว่า 20 ปี
ในแต่ละวันมีขยะเปลือกไข่เป็ดและไข่ไก่รวมกันประมาณ 1,500 กิโลกรัมต่อวัน และทิ้งเอาไว้ตาม
ถังขยะสาธารณะริมทางเท้าที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าจนเกิดการเน่าและส่งกลิ่นเหม็นเป็นมลพิษ
นอกจากนั้นกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื่อโรคที่มาจากหนูที่มาอาศัยอยู่
ตามกองขยะเปลือกไข่เป็ด จนมีแนวโน้มเกิดโรคระบาดจากสัตว์สู่คนได้ ดังนั้น องค์การบริหาร
ส่วนตำบลนาพันสาม จึงเล็งเห็นถึงปัญหาขยะจากเปลือกไข่เป็ดที่มีจำนวนมากและเป็นปัญหา
มาอย่างยาวนาน ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามมีงบประมาณจำกัดอยู่ที่ปีละ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
28 ล้านบาท ซึ่งต้องเบิกจ่ายในรายจ่ายประจำและรายจ่ายตามยุทธศาสตร์ ซึ่งงบประมาณ
มีไม่เพียงพอต่อการกำจัดขยะจากเปลือกไข่เป็ด ดังนั้น จึงหาแนวทางในการกำจัดขยะจาก
เปลือกไข่เป็ดด้วยวิธีสร้างสรรค์ในแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่แปลงขยะเปลือกไข่เป็ดให้มีมูลค่าทาง
เศรษฐกิจ จึงคิดโครงการนวัตกรรมแปรรูปขยะเปลือกไข่ขึ้นมา
โครงการนวัตกรรมแปรรูปขยะเปลือกไข่ เป็นนวัตกรรมที่มีความโดดเด่น เนื่องจากได้นำ
ขยะเปลือกไข่ที่เป็นปัญหาชองชุมชนมาประมาณ 20 ปี มาทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ขยะหมดไป
สร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สร้างการท่องเที่ยวให้กับชุมชน โดยแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ 3 ประเภทดังนี้ 1) ด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้แก่ แคลเซียมเปลือกไข่สำหรับโค/
สถาบันพระปกเกล้า