Page 199 - kpiebook65063
P. 199

ความเป็นมา


                 ประเทศไทยกำลังเผชิญกับจำนวนประชากรอายุเกิน 60 ปีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่มอายุนี้
           เรียกว่า กลุ่มประชากรผู้สูงอายุ ประชากรในกลุ่มนี้ยิ่งมีอายุสูงขึ้นมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยง
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการกลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจในสังคม นอกจากนั้น ผู้สูงอายุที่อายุมากขึ้น
           ต่อการเป็นโรคตามสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง และเป็นวัยที่บริโภคเป็นหลักมากกว่าการทำงาน



           มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับตัวผู้สูงอายุและสมาชิก

           ในครอบครัว ดังนั้น การเพิกเฉยต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุอาจทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็น
           ภาระทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนและกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด


                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยต่างให้ความสำคัญกับปัญหาผู้สูงอายุ และ
           พยายามหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในหลากหลายรูปแบบ เทศบาลนคร
           นครสวรรค์เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของ

           สถานการณ์ดังกล่าว  จึงมีแนวคิดส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างครบวงจร และพยายาม
           นำผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเพิ่มทักษะในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งเสริมสุขภาพ

           ผ่านกระบวนการรวมกลุ่มทางสังคม ตลอดจนรวบรวมความคิดและประสบการณ์ต่าง ๆ ของ
           ผู้สูงอายุเพื่อถ่ายทอดและต่อยอดกันเองในกลุ่ม
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 ดังนั้น เทศบาลนครนครสวรรค์ จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่

           ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ และต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย
           และจิตใจโดยมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ พึ่งพิงผู้อื่นให้น้อยที่สุด นอกจาก
           นั้น ผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์ยังค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อชะลอโอกาสในการเป็น

           ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่

                 จุดสำคัญหาของปัญหา (pain points) ของผู้สูงอายุในพื้นที่คือ เทศบาลนครนครสวรรค์

           ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมอย่างไรที่ดึงดูดให้ผู้สูงอายุออกมามีส่วนร่วมกับเทศบาลในการเรียนรู้
           ตลอดชีวิตร่วมกับคนวัยต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกับประชากร

           วัยต่าง ๆ ได้อย่างกลมกลืนตามศักยภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้บริหาร
           เทศบาลนครนครสวรรค์จึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจความต้องการที่แท้จริงจากผู้สูงอายุและผู้มี
           ส่วนได้ส่วนเสียในสังคมผู้สูงอายุ หลังจากที่ได้ข้อมูลจากการสำรวจและการรับฟังเสียงสะท้อน

           ในเวทีประชาคมหลายครั้งอย่างรอบด้านแล้ว ผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์จึงร่วมกัน
           สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 5 ด้าน หรือที่เรียกว่า

           ยุทธศาสตร์ “5H” ประกอบด้วย H1 การเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Healthy Policy) H2
           ที่พักอาศัยที่มีความสุขและปลอดภัย (Healthy Home) H3 กิจกรรมที่มีสุขภาพดี (Healthy



        1      สถาบันพระปกเกล้า
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204