Page 181 - kpiebook65063
P. 181

เห็นได้ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงบริหารโครงการเดย์แคร์ร่วมกับภาคี

           เครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในลักษณะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล
           พลูตาหลวงได้จำแนกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุออกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้ซึ่งมักเป็น
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ความรู้ในแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรและการรักษาด้วยระบบแพทย์ทางเลือก
           ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐที่เกษียณอายุราชการแล้ว และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้สูงอายุที่มี




                 นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงยังสร้างเครือข่ายในแนวราบกับ
           ส่วนราชการระดับจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
           มนุษย์จังหวัดชลบุรี จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อความเข้าใจร่วมกัน หรือที่เรียกว่า

           Memorandum of Understanding (MOU) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่อีกหลายแหล่งเพื่อ
           บูรณาการทรัพยากรร่วมกันจนประสบความสำเร็จและได้รับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจาก

           โรงพยาบาลสัตหีบ กม. 10 และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ในฐานะหน่วยงานที่ให้
           ความช่วยเหลือทางเทคนิคการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และ
           ช่วยองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงในการกำหนดรูปแบบโปรแกรมการรักษาบำบัดฟื้นฟู


                 ด้วยความมุ่งมั่นขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของ
           ผู้ป่วยติดเตียง ผู้บริหารจึงทำข้อเสนอโครงการให้แก่สถานเอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           ประเทศไทยพิจารณาและได้รับความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือ
           ระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น  (Japan International Cooperation Agency - JICA) ให้เข้าร่วม

           โครงการการจัดบริการสุขภาพและบริการสาธารณะแก่ผู้สูงอายุแบบไร้รอยต่อ(Seamless Health
           and Social Services Provision for Elderly Persons - S - TOP) โดยมีกระทรวงสาธารณสุข
           ทำหน้าที่ประสานงานโรงพยาบาลในพื้นที่ตำบลพลูตาหลวง


                 จากระบบการให้บริการสุขภาพและบริการสาธารณะแก่ผู้สูงอายุแบบไร้รอยต่อ ทำให้เกิด
           กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือที่เรียกว่า Caregiver (CG) เกิดขึ้น ซึ่ง ณ ปี พ.ศ. 2564 มี CG
           อยู่จำนวน 11 คน ต่อผู้ป่วยติดเตียงที่ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของโครงการเดย์แคร์ทั้งสิ้น 73 คน

           หรือเท่ากับ 1 ต่อ 7 คน โดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีความเหมาะสมโดยค่าทางสถิติ แต่อย่างไร
           ก็ตาม ผู้ป่วยติดเตียงอาจมีจำนวนมากกว่านั้น เนื่องจากญาติผู้ป่วยอาจไม่นำเข้าสู่ระบบของ

           โครงการเดย์แคร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง

                 ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีและกลุ่มปันน้ำใจสาธุ ถือ

           เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการช่วยองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ค้นหาผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่
           ตามบ้านพักและยังมิได้เข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาฟื้นฟู นอกจากนั้น กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ





        1 0    สถาบันพระปกเกล้า
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186