Page 179 - kpiebook65063
P. 179
คำแนะนำเรื่องการจัดระบบรับเข้าผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้องค์ความรู้เทียบเคียงกับระบบเวชระเบียน
ของโรงพยาบาล ซึ่งในขั้นตอนนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงมีข้อกำหนดให้ญาติของ
ผู้ป่วยติดเตียงต้องมาลงนามรับทราบด้วย
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง และสามารถเดินทางเข้ามารับบริการได้ด้วย
ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยสามารถทำการนัดได้โดยตรงกับศูนย์บริการที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลัง
ตนเอง หรือหากไม่สามารถเดินทางมารับบริการได้ด้วยตนเองอันเนื่องจากสภาพความเจ็บป่วย
ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางหรือไม่มียานพาหนะที่จะใช้เดินทาง ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยสามารถ
ประสานงานกับสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ให้จัดรถบริการไปรับ-ส่ง ได้โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยมีเงื่อนไขเพียงแค่เป็นประชากรในพื้นที่บริการขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลพลูตาหลวงเท่านั้น
การเดินทางเข้ารับบริการแต่ละครั้งต้องมีญาติผู้ป่วยมาด้วยเสมอ เพื่อมารับทราบถึง
แนวทางการบำบัดฟื้นฟูและเรียนรู้วิธีการบำบัดฟื้นฟูเมื่ออยู่ที่บ้านพักอาศัย การเข้าสู่กระบวนการ
บำบัดฟื้นฟูร่างกายเริ่มต้นด้วยการลงทะเบียนในศูนย์บริการ จากนั้นนักกายภาพบำบัดและ
พยาบาลวิชาชีพประจำองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงจะประเมินสภาพความพร้อมของ
ร่างกายโดยอาศัยข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่ญาติหรือตัวผู้ป่วยนำมาให้จากโรงพยาบาล
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ที่ตนเองเข้ารับการรักษา จากนั้นนักกายภาพบำบัด และพยาบาลวิชาชีพ จะกำหนดรูปแบบ
การฟื้นฟูและกายภาพบำบัดให้เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วยหรือพิการ และกำหนดรอบระยะ
เวลาที่เหมาะสมในการเข้ามารับการบำบัดฟื้นฟูในครั้งถัดไป ซึ่งแต่ละครั้งของการรับบริการที่ศูนย์
ใช้เวลาแต่ละครั้งประมาณ 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความพร้อมของผู้ป่วย และ
ในขณะที่นักกายภาพบำบัดทำการบำบัดฟื้นฟู ญาติผู้ป่วยจำเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้ไปพร้อมกับ
นักกายภาพบำบัดเพื่อนำเอาวิธีการไปบำบัดฟื้นฟูต่อที่บ้านพักอาศัย เนื่องจากการทำการบำบัด
ฟื้นฟูร่างกายที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและสามารถช่วยเหลือตนเองใน
ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมโดยไม่กลายเป็นภาระ
การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดเตียงนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่องและต้องทำที่บ้านพัก
อาศัยด้วยเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป สมาชิก
ในครอบครัวของผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ต้องออกไปประกอบอาชีพในเวลากลางวัน ดังนั้น ผู้ป่วย
ติดเตียงมักถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านเพียงลำพัง ดังนั้น โอกาสการได้รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
ร่างกายในขณะที่อยู่ที่บ้านจึงทำได้ไม่เต็มที่ องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงจึงประสานงาน
ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก กลุ่มสตรีในพื้นที่เข้ามามีบทบาท
สนับสนุนโครงการนี้ โดยทำหน้าที่ติดตามผลการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพตามบ้านพักของผู้ป่วย
1 สถาบันพระปกเกล้า