Page 166 - kpiebook65063
P. 166
ในการสนับสนุนวิทยากรไม่ว่าจะเป็นสำนักงานอัยการ สถานีตำรวจ วัด กำนันผู้ใหญ่บ้านและ
สมาคมกู้ภัยสองรวมใจ นอกจากนั้นยังมีการสร้างเครือข่ายในระดับครัวเรือนในชุมชนเพื่อเปลี่ยน
จากกลุ่มที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือกลายเป็นกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือ เช่นเยาวชนที่เคย
ติดเกมส์ กลายมาเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังทางสังคมในระดับครัวเรือน การเปลี่ยนจากผู้ได้รับ
ความรุนแรงในครอบครัว กลายเป็นสตรีที่เป็นแกนนำในชุมชนคอยให้ความช่วยเหลือกับผู้หญิง
ในหมู่บ้าน ดังนั้นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือการมีเครือข่ายและการขยายเครือข่ายในระดับ
ครัวเรือน (2) การใช้ข้อมูลจริงในพื้นที่เป็นสิ่งสะท้อนในการกำหนดกิจกรรม จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะ
มีการจัดทำโครงการทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนมีการเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาร่วมกันในแต่ละครัวเรือนร่วมกัน ก่อนที่จะมีการดำเนินการทำให้
ประชาชนเกิดความเข้าใจและสนับสนุนเพราะโครงการแต่ละโครงการเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา
กับคนในชุมชนอย่างแท้จริง ในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนก่อนที่จะมี
การดำเนินโครงการมีการสำรวจแต่ละครัวเรือน และมีการนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ
ที่ประชุมหมู่บ้านโดยมีบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเข้าร่วม ก่อนที่จะเปิดโอกาส
ให้ตัดสินใจหาทางออกในการดำเนินการร่วมกัน มีการรับสมัครจิตอาสาในพื้นที่เข้าร่วมเก็บข้อมูล
ทำให้คนที่เป็นจิตอาสารับรู้ข้อมูลเช่นเดียวกับทางบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน
และแกนนำของชุมชน ซึ่งเมื่อมีการเก็บข้อมูลตามเป้าหมายที่กำหนด ก็จะมีการนำข้อมูลดังกล่าว
เข้าที่ประชุมหมู่บ้านเพื่อทำให้คนในหมู่บ้านเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และนำข้อมูลเข้าสู่
การพิจารณาในการจัดทำโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน ซึ่งเป็นโครงการ
ที่ถูกออกแบบมาบนข้อมูลที่เก็บได้ดังนั้นในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการจึงเป็น
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้ผลประโยชน์อย่างแท้จริงจากโครงการหรือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้รับ
การแก้ไขอย่างแท้จริง ดังนั้นในกระบวนการคัดเลือกคนเข้าร่วมโครงการที่ถูกจำกัดจำนวนภายใต้
การแพร่ระบาดของ COVID 19 จึงเป็นการคัดเลือกกลุ่มที่ตรงเป้าหมายและทำให้เกิดผลตามที่
โครงการกำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทางสังคม หรือ ต้นแบบแกนนำสตรี ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
เป็นต้น
สำหรับความท้าทายหรืออุปสรรคในการดำเนินงานที่สำคัญคือ (1) การเข้ามาร่วมในการจัด
กิจกรรมที่เป็นการจัดฝึกอบรมที่องค์การบริหารส่วนตำบล ค่อนข้างไกล ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ประชาชนเลยไม่ค่อยอยากมาร่วมแต่ถ้าเป็นกิจกรรมที่เข้าไปจัดในหมู่บ้านของตนปัญหาดังกล่าว
ก็หมดไป แต่ถึงอย่างไรก็ตามทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนก็ได้หารือร่วมกันกับ
ผู้นำท้องที่ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน (สอบต. บ้านหนุน) โดยขอให้ สอบต.
หรือผู้นำท้องที่ทำหน้าที่รับส่งประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม (2) เนื่องจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าร่วมอบรม แต่เนื่องจากประชาชน
สถาบันพระปกเกล้า 1