Page 165 - kpiebook65063
P. 165
กล่าวโดยสรุปของการดำเนินงานของนวัตกรรมในระยะที่สาม (พ.ศ. 2561-2564)
แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาเครือข่ายเยาวชน
ในการจัดการขยะรีไซเคิล ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินงานในสองระยะที่ผ่านเป็นการพัฒนา
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ในชุมชนมากขึ้น ซึ่งในระยะที่สามเป็นการนำเครือข่ายดังกล่าวมารวมกับการสร้างประโยชน์
เครือข่ายเยาวชนเพื่อให้ลดเวลาในการเล่นเกมส์แต่เข้ามาร่วมการทำกิจกรรมในครอบครัวและ
ในทางเศรษฐกิจให้กับครอบครัวเพื่อให้เยาวชนมีความภูมิใจที่สามารถแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้
โดยแกนนำหลักในการดำเนินงานคือองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน ขั้นตอนที่ 2
เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นโดยการจัดทำโครงการช่วยฟื้นคืนชีพ
ระดับครัวเรือน(CPR) โดยเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันทั้งครอบครัว ทำให้เป็นการเพิ่มพื้นที่
ให้ครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นตลอดจนลดความเสี่ยงในระดับครัวเรือนในการเสียชีวิต
ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสมาคมกู้ภัยสองรวมใจเข้ามาร่วมดำเนินการกับ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้าหนุนภายใต้การชักชวนของผู้นำชุมชน รวมถึงการจัดกิจกรรม
การสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในระดับครัวเรือนจากการจมน้ำ โดยมีการสอนเยาวชนและ
คนในครอบครัวในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเมื่อจมน้ำ ซึ่งทำให้คนในครอบครัวได้มีเวลาทำ
กิจกรรมร่วมกันมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และภายหลังจากการจัดกิจกรรม
เพื่อให้เกิดความภูมิใจในระดับครัวเรือน ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนจึงมีการคัดเลือก
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
และพัฒนาต้นแบบด้าน CPR ในระดับหมู่บ้าน และสำหรับขั้นตอนที่ 3 เป็นการดำเนินการ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาเพื่อดำเนินการในเชิงรุก
เพราะในการดำเนินการของระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เป็นการดำเนินงานเพื่อแก้ไขในการให้ความรู้
เมื่อเยาวชนต้องเป็นคุณแม่วัยใส แต่ในระยะที่สามเป็นการให้ความรู้กับเยาวชนเพื่อป้องกันไม่ให้
เกิดการตั้งครรภ์ในเด็กและเยาวชนหรือคุณแม่วัยใส ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ และทำให้
ไม่เกิดปัญหาครอบครัวที่เกิดจากความไม่พร้อมจากการตั้งครรภ์ในที่สุด
ปัจจัยความสำเร็จและความท้าทายในการจัดทำโครงการ
ปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลการดำเนินการครอบครัวล้อมรั้วรักตลอดระยะเวลา 8 ปีก็คือ
(1) การที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนมีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการในทุกกิจกรรมอย่าง
เหนียวแน่นและต่อเนื่องทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของงบประมาณในการดำเนินงานของ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนในการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตทำให้
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนจึงจำเป็นที่จะต้องหาเครือข่ายสนับสนุนในการดำเนินงาน
ทั้งในส่วนงบประมาณและกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือสำนักงาน
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ รวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ
1 สถาบันพระปกเกล้า