Page 159 - kpiebook65063
P. 159
“...สาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครอบครัวคือ ปากท้องไม่อิ่ม หารายได้
ไม่พอกิน... ถ้าเราทำให้อย่างน้อยในแต่ละชุมชนสามารถมีของกินได้ ปัญหาน่าจะ
รุนแรงน้อยลง...”
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 น่าจะมีโครงการที่ส่งเสริมรายได้นะ แบบทำอยู่ที่บ้านได้...” แกนนำหมู่บ้าน
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ
“...ตอนแรกเราเอาเขามาอบรม แต่นอกจากความรู้แล้วปากท้องยังหิวอยู่ เรา
“...อย่างน้อยก็ทำให้มีอาชีพ... คัดแยกขยะก็พอมีรายได้... หรือจะเลี้ยง
ไส้เดือนดี... เอาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือน ส่วนพื้นที่สาธารณะ
อย่างที่วัด หรือพื้นที่ว่างเปล่าลองปลูกผักดูดีไหม...”
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
เมื่อได้มติที่ประชุมดังกล่าวทางนักพัฒนาชุมชนจึงได้ดำเนินโครงการครอบครัวพอเพียง
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
โดยเริ่มต้นที่ 40 ครอบครัว โดยเน้นการปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงไส้เดือน การนำขยะรีไซเคิล
มาแลกไข่ โดยร่วมกับเยาวชนในการเดิน นั่ง ปั่น เก็บขยะรีไซเคิลตามหมู่บ้านในวันอาทิตย์
สร้างความมีจิตอาสาให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงการสอนให้ผู้สูงอายุและแม่บ้านมาทำน้ำยา
ล้างจาน ตลอดจนการทำโครงการให้ความรู้และสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องสถานการณ์
และปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับสตรี เด็กเยาวชนและครอบครัว ร่วมกับเวทีของ อบต. สัญจร
1 สถาบันพระปกเกล้า