Page 170 - kpiebook65062
P. 170

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture)



                            ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ ๑ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) เป็นปฏิกิริยา
                      ต่อต้านรูปแบบประวัติศาสตร์นิยม ที่ก่อตัวขึ้นในโลกตะวันตกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ระบบ

                      การผลิตแบบอุตสาหกรรม เทคโนโลยีอาคาร และวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรม
                      ที่ปฏิเสธรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ ใช้วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่อย่างไม่ปิดบังสัจจะของ

                      โครงสร้างและวัสดุ การขึ้นรูปทรงสถาปัตยกรรมโดยอาศัยเหตุผลทางหน้าที่ใช้สอย (functional
                      design) หรือการรับรู้ทางสายตา (visual perception) เป็นหลัก การเน้นรูปทรงและปริมาตร
                      เป็นกล่องเรียบ (cubic form) ตลอดจนมวล (mass) ปริมาตร (volume) และพื้นที่ว่าง (space)

                      ที่เลื่อนไหล มีที่มาจากประโยชน์ใช้สอย แยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างพื้นที่ใช้สอย
                      (functional space) กับพื้นที่สัญจร (circulation) เป็นต้น


                            ความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงนี้เกิดขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ และ
                      ทวีอิทธิพล ส่งผลกระทบไปทั่วโลกสืบมา คู่ขนานไปกับบริบทสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมสมัยใหม่

                      ที่ค่อยๆ กลายเป็นภาษาสากลในเวลาต่อมา ดังสะท้อนออกมาในสถาปัตยกรรมจำนวนมากในสมัย
                      รัชกาลที่ ๗ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่เน้นประโยชน์ใช้สอย อาคารเพื่อการสาธารณูปโภค เช่น
                      โรงเรียน สถานีตำรวจ ตลาด โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น อาคารเหล่านี้บ้างออกแบบโดย “ช่างฝรั่ง”

                      รุ่นสุดท้ายอย่างนายชาลส์ เบเกอแลง (Charles Bèguelin) บ้างออกแบบโดย “สถาปนิกสยาม”
                      รุ่นแรก อย่างพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) หรือนายนารถ โพธิประสาท สะท้อนถึงความรู้

                      ความเข้าใจในสาระสำคัญบางประการของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เช่น การใช้วัสดุก่อสร้างโดยไม่ปิดบัง
                      สัจจะของโครงสร้างและวัสดุ การขึ้นรูปทรงสถาปัตยกรรมโดยมุ่งตอบสนองหน้าที่ใช้สอยหรือ
                      ความต้องการบางประการ เช่น การป้องกันอัคคีภัย การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ เป็นต้น

























                                                                                                            1 9
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175